Ahrefs

ถึงแม้พวกเครื่องมือช่วยเรื่องการทำ SEO จะมีอยู่จำนวนมาก แต่ตัวที่ชูโรงและดังจนเป็นที่นิยมของผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็คงจะมีอยู่ไม่กี่ตัว ถ้าเราเป็นพวกนักลองเครื่องมือใหม่ๆอยู่ตลอด บางทีเจอเครื่องมือห่วยเยอะๆก็อาจพาเงินหมดกระเป๋าได้ ถ้าเจอตัวที่ถูกใจแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปเสาะแสวงหาอะไรใหม่ๆจนเกินกำลัง นอกจากเครื่องมือใหม่อันนั้นมีฟังก์ชั่นการใช้งานส่วนที่เรายังขาด ถ้าเป็นแบบนั้นจะซื้อมาทดลองดูก็ได้ จะจ่ายอะไรก็ต้องคิดสักหน่อยเพราะเครื่องมือแต่ละตัวก็ราคาไม่ได้น้อยเลย แถมยังมีโปรแกรมเมอร์สร้างเครื่องมือขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดอีกด้วย

Ahrefs เครื่องมือส่องเว็บคู่แข่งที่เยี่ยมที่สุดในตอนนี้

สำหรับเครื่องมือการวิเคราะห์เว็บไซต์ของคู่แข่งเรา ปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่ตัวที่ได้รับความนิยมมาก 1 ในนั้นที่ต้องพูดถึงก็คือเจ้า Ahrefs.com เป็นเว็บที่เปิดให้บริการวิเคราะห์คู่แข่งในเชิงสถิติได้อย่างเจาะลึก เน้นไปในเรื่องของ Off Page ซะส่วนใหญ่ เคยสงสัยไหม เว็บที่ติดอันดับหน้าแรกของผลการค้นหาเขามีการทำ Backlinks จากแหล่งใดบ้าง แล้วทำเยอะหรือน้อยในแต่ละวัน มีการส่งลิงค์เข้าไปหน้าไหนของเว็บบ้าง มีการแชร์ใน Social Network ด้วยหรือไม่ ข้อมูลสำคัญเหล่านี้เราสามารถดูได้จาก Ahrefs.com ทั้งหมดเลย เพียงแค่พิมพ์ชื่อเว็บคู่แข่งของเราที่ต้องการจะส่องดู ข้อมูลก็จะโชว์ออกมาในรูปแบบสถิติให้เห็น เรียกได้ว่า เหมือนเข้าประตูหลังบ้านของคู่แข่งเลยก็ว่าได้ เขาทำอะไรเรารู้เกือบทั้งหมด จุดเด่นของเครื่องมือนี้คือเราสามารถรู้ได้ว่าเว็บไซต์คู่แข่งมีการเน้นคีย์เวิร์ดไหนเป็นหลักบ้าง โดยเว็บไซต์ Ahrefs จะมีข้อมูลบอกว่าเว็บไซต์คู่แข่งที่เรากำลังวิเคราะห์อยู่นี้ มีการทำ Backlinks ผ่านคีย์เวิร์ดใดบ้าง มีการเน้นลิงค์ผ่านคีย์เวิร์ดไหนเป็นหลักหรือปล่าว ถ้าหากว่าเราเอาเว็บคู่แข่งที่ติดอันดับหน้าแรกในคีย์เวิร์ดพนันบอลออนไลน์มาวิเคราะห์ผ่าน Ahrefs เมื่อเราทำการตรวจสอบดู พบว่าเว็บคู่แข่งของเราไม่ได้มีการเน้นเฉพาะคีย์เวิร์ดแทงบอลออนไลน์เพียงคีย์เวิร์ดเดียว แต่ยังมีคำอื่นอย่างเช่น ดูบอลออนไลน์ หรือ ปนอยู่ด้วย เราก็เอาคีย์เวิร์ดที่คู่แข่งทำไปดูผลลัพธ์ที่หน้า SERP ว่ามีติดอันดับในหน้าแรกหรือปล่าว หากมีติดอันดับเราก็สามารถมานั่งแกะรอยคู่แข่งในแต่ละหน้าเว็บที่ติดอันดับเพื่อนำมาเป็นแนวทางการทำ SEO ของเราได้ การที่เว็บไซต์คู่แข่งติดอันดับหลายๆคีย์เวิร์ด แปลว่าเขามีการทำ SEO ที่ถูกต้อง เราก็แค่วิเคราะห์การทำผ่าน Ahrefs.com แล้วนำไปใช้กับเว็บของตนแค่นั้นเอง

ที่บอกว่าเกือบทั้งหมดเพราะเป็นไปได้ยากที่บอทของ Ahrefs.com จะเข้าไปตามเก็บข้อมูลแล้วเจอแหล่ง Backlinks ของเว็บคู่แข่งเราทั้งหมด บางเว็บไซต์มันไม่มีสะพานลิงค์ให้บอทไต่ตามเข้าไปจนเจอ ก็จะไม่ถูกนำมาแสดงผลในหน้าสถิติ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเว็บจำพวก Competitor Research Tools แหล่งอื่น Ahrefs ถือเป็นอันดับ 1 ของเครื่องมือกลุ่มนี้ มีสถิติโชว์เยอะและละเอียดมากที่สุด ถึงเราจะไม่รู้ข้อมูลทั้งหมดของเรื่อง Off Page เว็บคู่แข่งของเรา แต่มันก็มากพอที่จะทำให้เราเดาวิธีการที่คู่แข่งใช้พอสมควรแล้ว เราจะทำตามคู่แข่งหรือจะทำวิธีอื่นก็แล้วแต่เราแล้วล่ะ

ค่าบริการของ Ahrefs

ทางเว็บไซต์ Ahrefs จะคิดค่าบริการเป็นรายเดือน ตกอยู่รายๆเดือนละ 3 พันบาทได้ ซึ่งถือว่าแพงพอสมควร แต่เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้แล้วถือว่าคุ้มมาก การจะเช่ารายเดือนเพื่อใช้ส่องเว็บคู่แข่งเพียงไม่กี่เว็บอาจไม่คุ้มสักเท่าไหร่ ถ้าเรามีเว็บคู่แข่งที่จะนำมาส่องไม่เยอะ จะใช้ฟรีก่อนก็ได้ หลังจากสมัครสมาชิกแล้วจะสามารถค้นหาต่อวันได้ฟรีประมาณ 3 เว็บ แต่ข้อมูลที่แสดงผลบางส่วนจะโชว์ไม่หมด หรืออีกวิธีก็ไปไล่เก็บเว็บเป้าหมายของเรามากสัก 300 เว็บเลย แล้วเสียเงินเช่าสัก 1 เดือน ส่องเว็บทั้งหมดในเดือนเดียว ก็เท่ากับว่าเราเสียค่าส่องเว็บคู่แข่งเพียงเว็บละ 10 บาทเท่านั้นเอง ( 3000 บาท หาร 300 เว็บ ) แถม Ahrefs ยังสามารถให้เรา Export File Url Backlinks คู่แข่งได้อีกด้วย แจ่มมากสำหรับเครื่องมือตัวนี้

บางคนที่มีประสบการณ์ใน SEO อาจจะมีการปกปิดไม่ให้บอทของเว็บไซต์แห่งนี้เข้าไปเก็บข้อมูลได้ ทำให้ข้อมูลจะไม่แสดงผลในเว็บไซต์ Ahrefs เวลาที่เราไปค้นหา หรืออาจจะเจอข้อมูลแค่บางส่วนเท่านั้น นักทำ SEO ที่เลือกปิดบอทเว็บไซต์วิเคราะห์คู่แข่งแนวๆนี้ ส่วนใหญ่จะปิดไม่ให้บอทตามเก็บข้อมูลในเว็บที่เป็น Private Blog Network ของเขา เพื่อป้องกันการโดนสแปมลิงค์หรือโดนรายงานเว็บจากคนที่ไม่หวังดี อย่างไรก็ดี เครื่องมือพวกนี้ อย่าลืมว่าเราดูเว็บคนอื่นได้ คนอื่นก็ดูเว็บเราได้เหมือนกันถ้าไม่ปิดกั้นบอท อย่าไปคิดว่าเราเหนือกว่าคู่แข่งเพราะรู้หลังบ้านของเขาจนประมาทในเส้นทาง SEO ซะล่ะ

Google Analytics

นอกจาก Google จะเป็นผู้ให้บริการ Search Engine อันดับ 1 ของโลกแล้ว เขายังมีเครื่องมือสุดยอดต่างๆให้เจ้าของเว็บไซต์ได้นำมาใช้วิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บตนเองได้อย่างดีอีกด้วย ต้องบอกว่าปัจจุบัน Google ไม่ได้ดังแค่เว็บไซต์ค้นหาอย่างเดียว แต่ยังเป็นเจ้าของเว็บใหญ่อย่าง Youtube ด้วย และบนมือถือระบบแอนดรอยด์เองก็มีเจ้า App Google Play ที่เราคุ้นเคยกัน มือถือแอนดรอยด์ทุกรุ่นจะต้องมีเจ้าแอพตัวนี้ เรียกว่าว่าถ้าเรื่องอินเตอร์เน็ตหรือมัลติมีเดียออนไลน์ทั้งหลาย ต้องยกให้เขาเป็นเบอร์ 1 ในตลาดนี้ของจริง แต่บทความบล็อกนี้จะพูดเฉพาะเรื่องของเครื่องมือเด็ดๆที่ให้นักทำ SEO ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เครื่องมือที่จะพูดถึงกันในวันนี้ก็คือเจ้า “Google Analytics

รู้จักกับ Google Analytics

Google Analytics เปรียบเหมือนพวกเครื่องมือที่ไว้เช็ค Stats ทั่วไป มีการดูปริมาณคนเข้าชมในแต่ละวัน กราฟสถิติ จำนวนคนออนไลน์ การเข้าดูของผู้ใช้งาน ดูว่าหน้าไหนมีคนเข้าใช้งานมากที่สุด เพื่อให้เจ้าของเว็บเน้นเป็นจุดๆไปได้ง่ายยิ่งขึ้น จุดเด่นของ Google Analytics จะเหนือกว่าพวกเว็บ Stats ทั่วไปอยู่หลายข้อด้วยกัน มีลูกเล่นมากมายจนแม้แต่เจ้าของเว็บเองก็คงจะมานั่งเช็คทุกวันไม่ไหว เอาเป็นว่าเอาไว้ดูภาพรวมของเว็บก็พอแล้ว ยกเว้นเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่ต้องการเน้นคุณภาพให้ผู้ใช้งานในระดับสูง การเช็คหน้าเว็บเพจที่กำลังได้รับความนิยม แหล่งที่มาของผู้ใช้ และระยะเวลาออนไลน์ในเว็บไซต์ของผู้ใช้โดยเฉลี่ยต่อ 1 คน ค่าพวกนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก หากเรารู้ว่าผู้ใช้ที่เข้ามายังเว็บของเรามาจากแหล่งไหนเป็นหลัก ระยะเวลาการออนไลน์นานหรือเข้าแล้วออกเลย ถ้าเข้าแล้วออกเลย ทำไมถึงเป็นแบบนั้น มันจะเป็นตัวสะท้อนคุณภาพของเว็บเราได้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะให้เราดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกใจผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าผลลัพธ์ในด้านบวกของ SEO ก็จะตามมา

ส่วนใหญ่นักทำ SEO บ้านเราจะไม่ค่อยได้มานั่งดูละเอียดกับเครื่องมือนี้มากสักเท่าไหร่ ประมาณว่าติดตั้งไว้กลัวตกเทรนเฉยๆ แต่หากเราติดไว้แต่ไม่ได้ใช้งานก็คงไม่มีประโยชน์มากนัก หากเราต้องการประสบผลสำเร็จในการทำเว็บไซต์ให้ถูกใจผู้ใช้งาน อยากให้เว็บของเราดังจนเป็นที่รู้จักในโลกออนไลน์ ก็ควรให้ความสำคัญกับเครื่องมือนี้มากๆ เพื่อที่จะได้จับทิศทางของกลุ่มผู้ใช้ที่ให้ความสนใจเข้ามาในเว็บเราได้ถูกต้อง อย่างเช่น เว็บเราขายสินค้าความงาม แต่กลุ่มผู้ใช้ไม่ได้เข้ามาจากพวกแหล่งซื้อขายสินค้าความงามที่เราไปโปรโมทโฆษณาไว้ตามเว็บต่างๆ แต่ส่วนใหญ่มาจากการค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine ให้พวกบทความที่เกี่ยวกับการดูแลผิว การรักษาสิว อะไรแบบนี้ เราจะได้จับทิศทางได้ง่ายขึ้นว่า ตอนนี้เราควรมาให้ความสำคัญในส่วนหน้าเว็บที่เป็นบทความที่ค้นส่วนใหญ่ค้นหาเจอและเข้ามาชมก่อนเป็นอันดับแรก แถมบางทีเราอาจจะเจอแหล่งที่มาของผู้ใช้ที่อยู่เหนือการคาดเดาได้เช่นกัน หากเว็บข่าวใหญ่ๆเอาข้อมูลเราไปแชร์แล้วมีคนเข้ามาเยี่ยมชม Google Analytics ก็จะคอยแจ้งให้เราทราบได้ทันทีว่าในช่วง 7 วันนี้ ผู้ใช้งานเข้ามาจากแหล่งไหนมากที่สุด เป็นต้น

เห็นประโยชน์มากขนาดนี้ รู้ไหมว่าใช้ฟรีนะจ๊ะ

ถึง Google Analytics จะเป็นเครื่องมือสารพัดประโยชน์ขนาดนี้ แต่อยากจะบอกว่ามันเป็นเครื่องมือที่เปิดให้เราใช้งานได้ฟรีนะ สาเหตุที่ทาง Google ได้พยายามคิดค้นเครื่องมือต่างๆที่เป็นประโยชน์กับเจ้าของเว็บไซต์ เพราะ Google ต้องการให้เว็บมาสเตอร์ทั้งหลายได้พยายามสร้างเว็บไซต์คุณภาพที่ถูกใจผู้ใช้งานมากที่สุด มันเป็นผลดีกับเจ้าของเว็บทุกคน และในทางกลับกัน ก็เป็นผลดีกับ Google ด้วย เพราะ Robot จะไต่เก็บข้อมูลอยู่ตามเว็บไซต์ทั่วโลกแล้วนำมาประมวลผลจัดอันดับเว็บที่หน้าผลการค้นหา หากมีแต่คนผลิตเว็บห่วยแล้วติดอันดับ ผู้ใช้งานเว็บค้นหาก็คงจะทยอยเลิกใช้ Google อย่างแน่นอน เหมือน Search Engine รายย่อยที่เวลาเราค้นแล้วมักจะเจอพวกเว็บเก่าที่โดนปล่อยร้างมาหลายปี ไม่ก็หน้าเว็บเออเร่อแต่กลับมีอันดับ สุดท้ายคนก็จะไม่ใช้บริการเว็บค้นหาเหล่านั้นในที่สุด

เครื่องมือตัวนี้จะมีฟังชั่นก์อยู่ค่อนข้างเยอะ อยากให้เพื่อนๆลองไปเล่นกันดูเองเพราะเป็นเครื่องมือที่มีภาษาไทยรองรับไว้อยู่แล้ว การใช้คงไม่ได้ยุ่งยากอะไรนัก เพื่อให้เราได้ประโยชน์สูงสุดในการผลิตเว็บไซต์คุณภาพออกมาสู่โลกอินเตอร์เน็ต Google Analytics ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามไปเลย

Google Search Console

ในช่วงก่อนหน้านี้ เจ้าของเว็บมักจะคุ้นเคยกับเครื่องมือสุดแจ่มที่ชื่อว่า Google Webmaster Tools ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเว็บเล็กหรือใหญ่ หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ของตนอย่างเป็นขั้นตอนที่เหมาะสม มันก็ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยดูแลและตรวจสอบสภาพเว็บไซต์ของเราโดยรวมได้ดีไม่น้อย ไม่ต้องมานั่งไล่งมหาจุมบกพร่องของโครงสร้างเว็บเองให้ปวดหัว มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะหาบัคต่างๆของเว็บไซต์ เพราะพวกบัคเหล่านี้ ถ้าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เราจะไม่ค่อยได้เห็นกัน มันไม่ส่งผลออกมาในหน้าหลักของเว็บเวลาเราเข้าดู แต่ในทางของระบบที่ใช้ในการตรวจสอบจุดผิดพลาดต่างๆอย่าง Google Webmaster Tools มันจะสามารถมองเห็นจุดบกพร่องที่เป็นปัญหาต่อ Robot ในการจะเข้าไปเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ปัจจุบันทาง Google ได้เปลี่ยนชื่อเครื่องมือสุดเจ๋งนี้เป็น Google Search Console เรียบร้อยแล้ว

มาทำความรู้จัก Google Search Console กันสักหน่อย

จริงๆการเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ก็ไม่ได้มีการปรับปรุงเครื่องมือให้ผิดรูปผิดตาไปจากที่เป็นอยู่ มันยังคงความง่ายในการใช้งานแบบเดิมที่เคยเป็น แต่อาจจะมีการเพิ่มฟังก์ชั่นอื่นๆเข้ามาด้วย เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับเว็บมาสเตอร์ที่ต้องการวิเคราะห์เว็บอย่างละเอียด จุดเด่นที่ทำให้ Google Search Console มีความสำคัญมากกับเจ้าของเว็บสมัยใหม่ อย่างแรกเลยคือการแจ้งปัญหา Error ต่างๆให้เจ้าของเว็บได้รับทราบ หากระบบของ Google Search Console พบปัญหาในตัวเว็บของเรา อาจจะเป็นเรื่องของโครงสร้างเว็บที่ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดปัญหาการที่บอทไม่สามารถเข้าไปเก็บข้อมูลในส่วนที่สำคัญต่อการแสดงผลได้ มันจะแจ้งเตือนบอกเราทางหน้าจอหลักของเครื่องมือนี้ เพื่อให้เจ้าของเว็บทราบและดำเนินการแก้ไขอย่างทันท่วงที ก่อนที่เว็บจะตกเป็นเหยื่อของกลุ่ม Hacker ผู้ไม่หวังดีมาเจาะระบบเอาข้อมูลสำคัญของเว็บเราไป หากเราดำเนินการแก้ไขแล้ว ระบบก็จะทำการตรวจสอบดูใหม่อยู่เป็นระยะๆ หากพบว่าการแก้ไขที่ทำไปยังไม่สมบูรณ์เสร็จสิ้น มันจะแจ้งเตือนเราอีกครั้งในส่วนที่ยังเป็นปัญหาอยู่ เห็นไหมล่ะ… ดีขนาดนี้จะไม่ใช้ได้ยังไง

เว็บที่สมบูรณ์ ย่อมทำ SEO ได้ดีกว่าเว็บที่มีปัญหา

เป็นเรื่องปฏิเสธไม่ได้ที่เจ้าของเว็บทั้งหลาย ย่อมอยากให้เว็บไซต์ของตนเองได้ก้าวเข้าไปสู่อันดับ 1 ในคีย์เวิร์ดทำเงิน หากเว็บเรามีปัญหาในหน้าเว็บหรือโครงสร้างของ Code ที่ทำให้บอทไม่สามารถเข้ามาเก็บข้อมูลได้ แบบนี้ย่อมไม่เป็นผลดีในเชิง SEO ส่วนเว็บที่สมบูรณ์แบบ บอทเข้าเก็บข้อมูลได้ง่าย โครงสร้างเว็บไม่มีจุดให้สะดุด ย่อมเป็นที่ถูกใจบอทมากกว่า ก็จะส่งผลดีกว่าในเชิงของ SEO นั่นเอง ยังมีเครื่องมือย่อยอีกมากมายในระบบของ Google Search Console ที่จะทำให้เจ้าของเว็บรู้สึกปลื้ม อย่างนึงที่พลาดไม่ได้คือระบบของ Google Search Console จะมีบอกจำนวนที่เว็บเราถูกนำไปแสดงผลด้วยเวลาที่มีคนค้นหาผ่าน Google ว่ามีการแสดงผลกี่ครั้ง ในคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ยกสัก 1 ตัวอย่าง แบบเว็บ พรทิน่า.com มีขายเครื่องสำอางค์อยู่พอสมควร หากเว็บไซต์พรทิน่ามีการติดอันดับในคีย์เวิร์ดอย่างเช่น สบู่พรทิน่า และมีคนค้นหา ถึงจะไม่ได้คลิกเข้ามาที่เว็บเรา ระบบของ Google Search Console ก็จะมีรายงานบอกทั้งหมดว่าเว็บเราเคยถูกแสดงผลกี่ครั้ง

จุดนี้จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้ผู้รับทำ SEO ทั้งหลายสามารถเลือกให้ความสำคัญในแต่ละคีย์เวิร์ดได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งเว็บเราถูกค้นหาเจอในคีย์เวิร์ดไหนมาก เราควรจะให้ความสำคัญในหน้าที่ติดอันดับนั้นมากขึ้นกว่าเดิม อาจจะใส่เนื้อหาเพิ่ม ปรับแต่งหน้าเว็บเพจนั้นๆให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เพื่อเวลามีคนเข้ามาเยี่ยมชมจะสามารถปิดการขายลูกค้าได้ดีขึ้น หรือหากเป็นเว็บเนื้อหาทั่วๆไป ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมจะได้ประทับใจและเวียนกลับเข้ามาเยี่ยมชมในภายหลังอีก แถมการที่เราปรับแต่งเนื้อหาเว็บให้ดีต่อผู้ใช้งาน มันก็จะเป็นตัวสะท้อนอันดับในผลการค้นหาของเราให้ไต่ขึ้นไปสูงกว่าที่เป็นอยู่ได้อีกด้วย

หากไม่ใช้งาน Google Search Console จะมีข้อเสียกับเว็บหรือไม่ ?

ถ้าเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์แต่ไม่อยากใช้เครื่องของฟรีของ Google Search Console จริงๆก็ไม่ได้เสียหายอะไร เว็บเราไม่ได้มีข้อเสียเพิ่มขึ้น แต่เจ้าของเว็บอาจต้องเสียเวลาในการหาจุดบกพร่องของเว็บนานกว่าการใช้เครื่องมือนี้ เพราะต้องมานั่งงมหาเอง คงไม่เหมาะกับเจ้าของเว็บมือใหม่ที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่อง Coding สักเท่าไหร่ การที่เราใช้เครื่องมือดีๆอันนี้ของ Google ก็เปรียบเหมือนเรายอมเปิดเผยข้อมูลให้ทาง Google ตรวจสอบ หากเราทำเว็บด้วยความตั้งใจจริง ไม่เคยทำอะไรที่เข้าข่ายการสแปมหรือมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อเว็บคุณภาพ มันย่อมเป็นประโยชน์หากเราเลือกที่จะใช้เครื่องมือนี้ Search Engine ย่อมชอบเว็บคุณภาพเป็นธรรมดา แต่หากเว็บเรามีการทำแบบเข้าข่ายสุ่มเสี่ยง Spam มาก่อน ก็ไม่ควรใช้เครื่องมือนี้แน่นอน เพราะหากระบบตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด แล้วเจอสิ่งที่ไม่เหมาะสม มันก็จะจัดการเว็บเราในทันที ถึงแม้ท้ายที่สุดเว็บที่ชอบสแปมชาวบ้านจะต้องพบจุดจบด้วยการโดนตบจนอันดับร่วงหายแม้จะไม่ได้ใช้เครื่องมือนี้ก็ตาม แต่การเอาเว็บของเราแอดเข้าไปในเครื่องมือ Google Search Console มันอาจจะทำให้เว็บเราโดนจัดการได้ไวกว่าเดิม

ทีนี้เราก็รู้ถึงความสำคัญของเครื่องมือสุดเจ๋งอย่าง Google Search Console กันไปแล้ว หากทำเว็บดีมีคุณภาพ ก็ควรจะลองใช้มันดูสักครั้ง ของฟรีและดีแบบนี้ไม่ได้มีให้ใช้บ่อยๆนะ แถมอันนี้ยังเป็นของในเครือ Google เอง ดังนั้นเรื่องความปลอดภัยจึงสูงแน่นอน