SeoQuake

นานแล้วพักใหญ่ที่ไม่ได้อัพเดท SEO Tools ให้เพื่อนๆ วันนี้ขอกลับมาอัพเดทอีกครั้งตามเดิม จากที่เคยพูดถึงเจ้าเครื่องมือวิเคราะห์เว็บไซต์คู่แข่งในเรื่องของ Off Page ระดับเทพอย่าง Ahrefs ถึงมันจะเทพแต่ปัญหาตอนนี้คือไม่มีให้ทดลองใช้แล้วจ้า… ต้องเสียเงินเช่ารายเดือนอย่างเดียว แถมราคาก็แสนจะแพงหูฉีก ถ้าไม่ได้ทำ SEO หลายๆเว็บรับรองว่าคงไม่เวิร์คแน่หากจะซื้อเครื่องมือตัวนี้มาใช้งาน คำถามคือ “แล้วมันพอจะมีเครื่องมือใช้ทดแทนกันได้อยู่ไหม” คำตอบคือ “มี” นั่นคือเจ้า SEO Tools ที่ชื่อว่า SeoQuake นั่นเอง เป็นของฟรีที่สามารถใช้วิเคราะห์เว็บไซต์คู่แข่งภาพรวมได้ดีอยู่ไม่น้อย ถึงการแกะ Backlinks จะไม่ละเอียดเท่าเครื่องมือ Ahrefs ก็ตาม (ก็นี่มันของฟรีนี่นะ) อย่างน้อยมันก็ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของเว็บไซต์คู่แข่งแบบหน้าจอเดียวเบ็ดเสร็จได้ดีอยู่เหมือนกัน รวมไปถึงใช้ในการวิเคราะห์ว่าคีย์เวิร์คไหนควรทำ คีย์เวิร์ดไหนควรถอย แบบนี้อีกด้วย

มองความแข็งอ่อนของ Keywords ได้ง่ายๆ ด้วย SeoQuake

SeoQuake จุดเด่นมันคือหน้าจอเดียวเบ็ดเสร็จ ปกติแล้วการจะวิเคราะห์คู่แข่งในแต่ละคีย์เวิร์ด เรามักจะต้องเข้าไปแกะรอยทั้ง On Page และ Off Page ของแต่ละเว็บอย่างละเอียด คลิกเข้าทีละเว็บ วิเคราะห์ทีละเว็บ กว่าจะวิเคราะห์เสร็จสักคีย์นึงก็ล่อเป็นชั่วโมงแล้ว เจ้าตัว SeoQuake มันมีหน้าที่แสดงความแข็งแกร่งในภาพรวมของแต่ละเว็บไซต์ในเราดูได้แบบง่ายๆ โดยหลังจากติดตั้งเจ้าเครื่องมือนี้ไว้กับบราวเซอร์ที่ต้องการเรียบร้อย มันจะปรากฎแถบเครื่องมือไว้ในแต่ละเว็บ เข้าเว็บไซต์ไหนมันก็จะมีแถบเครื่องมือโชว์ค่าสกอร์ต่างๆที่อาจส่งผลต่อ SEO ให้เราได้เห็นกัน ถ้าเข้าเว็บทั่วไป ก็มักจะแสดงแค่แท็ปหลักเพียงแท็ปเดียว แต่ถ้าเข้าเว็บ Search Engine แล้วทำการค้นหา มันจะโชว์แท็ปของแต่ละเว็บให้ดู

FIFA55

ยกตัวอย่างในรูปข้างต้น เป็นการวิเคราะห์ความแข็งแกร่งของการทำ SEO ในคีย์เวิร์ด “FIFA55” เป็นกลุ่มเว็บแทงบอลออนไลน์ในเครือของ FIFA55.COM ที่กำลังมาแรงอยู่ตอนนี้ ในกรอบแดงที่ครอบไว้คือแท็ปเครื่องมือ SeoQuake สังเกตุว่ามันจะมีค่าสกอร์ต่างๆรวมไปมากมาย ซึ่งแต่ละค่าถือเป็นสกอร์ที่นักทำ SEO ส่วนใหญ่คิดว่ามีความสำคัญในการทำ SEO อย่างค่า “L” คือค่าจำนวน Backlinks ที่ยิงเข้ามาได้ในหน้าที่ติดอันดับ และ “LD” คือค่าจำนวน Backlinks ที่ยิงเข้ามาในโดเมนหลักของเว็บที่ติดอันดับ ซึ่งสองค่านี้ยิ่งเยอะ เว็บไซต์ก็มีจะมีความแข็งแกร่งมากขึ้น และยังมีอีกหลายค่าที่เราจะเลือกให้มันแสดงผลข้อมูลแสรุป เราสามารถเลือกโชว์หรือซ่อนค่าบางอย่างได้โดยตั้งค่าจากในส่วน Parameters ของเครื่องมือ SeoQuake

ค่าที่เห็นไม่ใช่ค่าของทาง Google

โปรดจำไว้ว่า ค่าสกอร์ของแต่ละอย่างบนเครื่องมือ SeoQuake ไม่ใช่ค่าที่ Google เป็นคนคิดขึ้นทั้งหมด อย่าเจ้า L และ LD มันก็เป็นการคำนวนจากเว็บ Semrush เท่านั้น บอทเว็บนี้เก็บข้อมูลมาได้เท่าไหร่ มันก็เอามาแสดงผลแบบนั้นนั่นเอง จึงไม่สามารถฟันธงได้ว่าค่าคะแนนต่างๆที่เกิดขึ้น มันจะส่งผลได้ด้าน SEO มากน้อยแค่ไหน แต่ถึงจะไม่ใช่ข้อมูลที่ Google เป็นตัวคำนวนขึ้น แต่อย่างน้อยก็พอจะทำให้เรามองเห็นภาพรวมว่าเว็บไซต์คู่แข่งได้ผ่านการทำอะไรมาบ้าง คะโดยรวมดีหรือแย่มากแค่ไหน แถมดูง่ายไม่ต้องเสียเวลามานั่งวิเคราะห์ทีละเว๋บด้วย ส่วนเว็บไหนมีสกอร์เยอะผิดปกติ เราค่อยเอามานั่งวิเคราะห์เชิงลึกกันอีกทีก็ยังทำได้

SeoQuake Firefox
>> https://chrome.google.com/webstore/detail/seoquake/akdgnmcogleenhbclghghlkkdndkjdjc

SeoQuake Chrome
>> https://addons.mozilla.org/En-us/firefox/addon/seoquake-seo-extension/

Majestic SEO Tool

นอกจากเว็บไซต์เจ้าพ่อการแกะรอยคู่แข่งอย่าง Ahrefs.com ที่เราได้พูดไปก่อนหน้านี้ ยังมีอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันในเรื่องของการวิเคราะห์ SEO Off Page คู่แข่ง นั่นคือเว็บ Majestic.com จุดเด่นของเว็บ Majestic ที่เว็บวิเคราะห์คู่แข่งแห่งอื่นไม่มี คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของค่าคะแนนหมวดหมู่ โดยคะแนนหมวดหมู่นี้ จะเป็นตัวบ่งบอกว่าเว็บไซต์ที่เรากำลังทำการวิเคราะห์อยู่ มีความเกี่ยวข้องกับหมวดหมู่ใดมากที่สุด ข้อมูลที่โชว์จะเป็นคะแนนตัวเลขซึ่งง่ายต่อการวิเคราะห์ สำหรับคะแนนในแต่ละหมวดหมู่ที่ได้ จะถูกคำนวนมาจากแหล่งที่มาของ Backlinks เป็นหลัก ว่า Backlinks ของเว็บไซต์ที่เรากำลังวิเคราะห์มีแหล่งมาจากเว็บกลุ่มใดบ้างเป็นหลัก เช่น หากเว็บไซต์ที่เรากำลังวิเคราะห์ ได้รับลิงค์ย้อนกลับจากเว็บเกี่ยวกับธุรกิจจำนวนมาก ค่าคะแนนหมวดหมู่ที่ Majestic จะโชว์ออกมาให้เราเห็นก็จะมีคะแนนหมวดหมู่เกี่ยวกับธุรกิจเยอะกว่าหมวดอื่นนั่นเอง ทั้งนี้ คะแนนหมวดหมู่ยังคำนวนมาจากปัจจัยอื่นๆด้วยที่เราไม่ทราบ ทางเว็บไซต์ Majestic.com จะเป็นผู้จัดการตัวแปรที่ใช้ในการคำนวนคะแนนหมวดหมู่เองทั้งหมด

สำหรับข้อมูลอื่นๆที่สำคัญในการวิเคราะห์เว็บไซต์คู่แข่งผ่าน Majestic.com ก็จะมีคล้ายคลึงกับเว็บไซต์ Ahrefs.com ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปริมาณ Backlinks ที่มีการเชื่อมโยงเข้ามายังเว็บที่เรากำลังวิเคราะห์ หรือจะเป็นการดูว่ามีการสร้าง Text Links ในคีย์เวิร์ดใดไว้บ้าง อย่างเช่น ผลบอล แทงบอล หวย ปัญหาหลั่งเร็ว หนังโป๊ หรือคีย์เวิร์ดอื่นๆ จะแสดงให้เราเห็นเกือบทั้งหมดโดยปริมาณการสร้างลิงค์ผ่านคีย์เวิร์ดแต่ละคำ จะแบ่งเป็นสัดส่วนให้เราดูได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ เว็บ Majestic ยังมีค่าคะแนน 2 อย่างที่สำคัญมากและนักทำ SEO มักใช้เป็นตัววิเคราะห์ว่าเว็บไซต์นั้นมีความแข็งแกร่งมากน้อยแค่ไหน นั่นคือค่า Trust Flow และ Citation Flow โดย 2 ค่านี้จะมีคะแนนเต็มร้อย ยิ่งเว็บไซต์ไหนมีคะแนน Trust Flow และ Citation Flow มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นตัวสะท้อนว่าเว็บไซต์เหล่านั้นมีความแข็งแกร่งอย่างมาก นักทำ SEO ที่มีการสร้าง Private Blog Network ของตัวเอง มักจะค้นหาโดเมนที่มีค่า Trust Flow และ Citation Flow สูงๆมาสร้าง เพราะมันเป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของโดเมนได้ดีระดับนึงเลยทีเดียว

Majestic ทางเลือกเสริมของคนที่ไม่อยากเสียเงินเช่า Ahrefs

ณ วันที่เขียนบทความนี้ การจะใช้ Ahrefs ในเวลานี้จะค่อนข้างลำบากหน่อย คือเราจำเป็นต้อง Login ผ่าน Facebook หรือ Google Accout เพื่อใช้งาน แต่เท่าที่ผู้เขียนลองใช้ Google Account บัญชีใหม่เชื่อมโยง บางครั้งมันจะไม่สามารถเชื่อมโยงได้ แต่บัญชีที่เคยเชื่อมโยงไว้นานแล้วยังคงใช้ได้ปกติ หรือต่อให้เชื่อมต่อผ่าน Facebook เดี๋ยวนี้เราจะไม่สามารถดูข้อมูลเชิงลึกได้อย่างละเอียดเหมือนเมื่อก่อน ทำให้ผู้ใช้หน้าใหม่อาจจำเป็นต้องเสียเงินใน $7 เพื่อทดลองใช้ 7 วัน หากชอบใจก็ค่อยเช่าต่อยาวๆ หากไม่ถูกใจก็ต้องทำการยกเลิกก่อนที่ระบบมันจะตัดเงินในวันที่ 8 แต่ถ้าเป็น Majestic มันไม่จำเป็นต้องสมัครสมาชิกให้ยุ่งยาก สามารถใช้ฟรีได้ตามจำนวนครั้งที่ลิมิตต่อวัน หากใครไม่อยากเสียเงินเช่าเครื่องมือวิเคราะห์คู่แข่งเหล่านี้ อาจด้วยเหตุผลไม่ได้ใช้งานเยอะ นานๆใช้ที แวะมาใช้ของฟรีที่ Majestic.com ก็ได้ ส่วนถ้าใช้เยอะจะเสียเงินเช่าทั้ง Majestic และ Ahrefs ก็แล้วแต่เราจะสะดวก

Ahrefs

ถึงแม้พวกเครื่องมือช่วยเรื่องการทำ SEO จะมีอยู่จำนวนมาก แต่ตัวที่ชูโรงและดังจนเป็นที่นิยมของผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็คงจะมีอยู่ไม่กี่ตัว ถ้าเราเป็นพวกนักลองเครื่องมือใหม่ๆอยู่ตลอด บางทีเจอเครื่องมือห่วยเยอะๆก็อาจพาเงินหมดกระเป๋าได้ ถ้าเจอตัวที่ถูกใจแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปเสาะแสวงหาอะไรใหม่ๆจนเกินกำลัง นอกจากเครื่องมือใหม่อันนั้นมีฟังก์ชั่นการใช้งานส่วนที่เรายังขาด ถ้าเป็นแบบนั้นจะซื้อมาทดลองดูก็ได้ จะจ่ายอะไรก็ต้องคิดสักหน่อยเพราะเครื่องมือแต่ละตัวก็ราคาไม่ได้น้อยเลย แถมยังมีโปรแกรมเมอร์สร้างเครื่องมือขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดอีกด้วย

Ahrefs เครื่องมือส่องเว็บคู่แข่งที่เยี่ยมที่สุดในตอนนี้

สำหรับเครื่องมือการวิเคราะห์เว็บไซต์ของคู่แข่งเรา ปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่ตัวที่ได้รับความนิยมมาก 1 ในนั้นที่ต้องพูดถึงก็คือเจ้า Ahrefs.com เป็นเว็บที่เปิดให้บริการวิเคราะห์คู่แข่งในเชิงสถิติได้อย่างเจาะลึก เน้นไปในเรื่องของ Off Page ซะส่วนใหญ่ เคยสงสัยไหม เว็บที่ติดอันดับหน้าแรกของผลการค้นหาเขามีการทำ Backlinks จากแหล่งใดบ้าง แล้วทำเยอะหรือน้อยในแต่ละวัน มีการส่งลิงค์เข้าไปหน้าไหนของเว็บบ้าง มีการแชร์ใน Social Network ด้วยหรือไม่ ข้อมูลสำคัญเหล่านี้เราสามารถดูได้จาก Ahrefs.com ทั้งหมดเลย เพียงแค่พิมพ์ชื่อเว็บคู่แข่งของเราที่ต้องการจะส่องดู ข้อมูลก็จะโชว์ออกมาในรูปแบบสถิติให้เห็น เรียกได้ว่า เหมือนเข้าประตูหลังบ้านของคู่แข่งเลยก็ว่าได้ เขาทำอะไรเรารู้เกือบทั้งหมด จุดเด่นของเครื่องมือนี้คือเราสามารถรู้ได้ว่าเว็บไซต์คู่แข่งมีการเน้นคีย์เวิร์ดไหนเป็นหลักบ้าง โดยเว็บไซต์ Ahrefs จะมีข้อมูลบอกว่าเว็บไซต์คู่แข่งที่เรากำลังวิเคราะห์อยู่นี้ มีการทำ Backlinks ผ่านคีย์เวิร์ดใดบ้าง มีการเน้นลิงค์ผ่านคีย์เวิร์ดไหนเป็นหลักหรือปล่าว ถ้าหากว่าเราเอาเว็บคู่แข่งที่ติดอันดับหน้าแรกในคีย์เวิร์ดพนันบอลออนไลน์มาวิเคราะห์ผ่าน Ahrefs เมื่อเราทำการตรวจสอบดู พบว่าเว็บคู่แข่งของเราไม่ได้มีการเน้นเฉพาะคีย์เวิร์ดแทงบอลออนไลน์เพียงคีย์เวิร์ดเดียว แต่ยังมีคำอื่นอย่างเช่น ดูบอลออนไลน์ หรือ ปนอยู่ด้วย เราก็เอาคีย์เวิร์ดที่คู่แข่งทำไปดูผลลัพธ์ที่หน้า SERP ว่ามีติดอันดับในหน้าแรกหรือปล่าว หากมีติดอันดับเราก็สามารถมานั่งแกะรอยคู่แข่งในแต่ละหน้าเว็บที่ติดอันดับเพื่อนำมาเป็นแนวทางการทำ SEO ของเราได้ การที่เว็บไซต์คู่แข่งติดอันดับหลายๆคีย์เวิร์ด แปลว่าเขามีการทำ SEO ที่ถูกต้อง เราก็แค่วิเคราะห์การทำผ่าน Ahrefs.com แล้วนำไปใช้กับเว็บของตนแค่นั้นเอง

ที่บอกว่าเกือบทั้งหมดเพราะเป็นไปได้ยากที่บอทของ Ahrefs.com จะเข้าไปตามเก็บข้อมูลแล้วเจอแหล่ง Backlinks ของเว็บคู่แข่งเราทั้งหมด บางเว็บไซต์มันไม่มีสะพานลิงค์ให้บอทไต่ตามเข้าไปจนเจอ ก็จะไม่ถูกนำมาแสดงผลในหน้าสถิติ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเว็บจำพวก Competitor Research Tools แหล่งอื่น Ahrefs ถือเป็นอันดับ 1 ของเครื่องมือกลุ่มนี้ มีสถิติโชว์เยอะและละเอียดมากที่สุด ถึงเราจะไม่รู้ข้อมูลทั้งหมดของเรื่อง Off Page เว็บคู่แข่งของเรา แต่มันก็มากพอที่จะทำให้เราเดาวิธีการที่คู่แข่งใช้พอสมควรแล้ว เราจะทำตามคู่แข่งหรือจะทำวิธีอื่นก็แล้วแต่เราแล้วล่ะ

ค่าบริการของ Ahrefs

ทางเว็บไซต์ Ahrefs จะคิดค่าบริการเป็นรายเดือน ตกอยู่รายๆเดือนละ 3 พันบาทได้ ซึ่งถือว่าแพงพอสมควร แต่เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้แล้วถือว่าคุ้มมาก การจะเช่ารายเดือนเพื่อใช้ส่องเว็บคู่แข่งเพียงไม่กี่เว็บอาจไม่คุ้มสักเท่าไหร่ ถ้าเรามีเว็บคู่แข่งที่จะนำมาส่องไม่เยอะ จะใช้ฟรีก่อนก็ได้ หลังจากสมัครสมาชิกแล้วจะสามารถค้นหาต่อวันได้ฟรีประมาณ 3 เว็บ แต่ข้อมูลที่แสดงผลบางส่วนจะโชว์ไม่หมด หรืออีกวิธีก็ไปไล่เก็บเว็บเป้าหมายของเรามากสัก 300 เว็บเลย แล้วเสียเงินเช่าสัก 1 เดือน ส่องเว็บทั้งหมดในเดือนเดียว ก็เท่ากับว่าเราเสียค่าส่องเว็บคู่แข่งเพียงเว็บละ 10 บาทเท่านั้นเอง ( 3000 บาท หาร 300 เว็บ ) แถม Ahrefs ยังสามารถให้เรา Export File Url Backlinks คู่แข่งได้อีกด้วย แจ่มมากสำหรับเครื่องมือตัวนี้

บางคนที่มีประสบการณ์ใน SEO อาจจะมีการปกปิดไม่ให้บอทของเว็บไซต์แห่งนี้เข้าไปเก็บข้อมูลได้ ทำให้ข้อมูลจะไม่แสดงผลในเว็บไซต์ Ahrefs เวลาที่เราไปค้นหา หรืออาจจะเจอข้อมูลแค่บางส่วนเท่านั้น นักทำ SEO ที่เลือกปิดบอทเว็บไซต์วิเคราะห์คู่แข่งแนวๆนี้ ส่วนใหญ่จะปิดไม่ให้บอทตามเก็บข้อมูลในเว็บที่เป็น Private Blog Network ของเขา เพื่อป้องกันการโดนสแปมลิงค์หรือโดนรายงานเว็บจากคนที่ไม่หวังดี อย่างไรก็ดี เครื่องมือพวกนี้ อย่าลืมว่าเราดูเว็บคนอื่นได้ คนอื่นก็ดูเว็บเราได้เหมือนกันถ้าไม่ปิดกั้นบอท อย่าไปคิดว่าเราเหนือกว่าคู่แข่งเพราะรู้หลังบ้านของเขาจนประมาทในเส้นทาง SEO ซะล่ะ

Google Analytics

นอกจาก Google จะเป็นผู้ให้บริการ Search Engine อันดับ 1 ของโลกแล้ว เขายังมีเครื่องมือสุดยอดต่างๆให้เจ้าของเว็บไซต์ได้นำมาใช้วิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บตนเองได้อย่างดีอีกด้วย ต้องบอกว่าปัจจุบัน Google ไม่ได้ดังแค่เว็บไซต์ค้นหาอย่างเดียว แต่ยังเป็นเจ้าของเว็บใหญ่อย่าง Youtube ด้วย และบนมือถือระบบแอนดรอยด์เองก็มีเจ้า App Google Play ที่เราคุ้นเคยกัน มือถือแอนดรอยด์ทุกรุ่นจะต้องมีเจ้าแอพตัวนี้ เรียกว่าว่าถ้าเรื่องอินเตอร์เน็ตหรือมัลติมีเดียออนไลน์ทั้งหลาย ต้องยกให้เขาเป็นเบอร์ 1 ในตลาดนี้ของจริง แต่บทความบล็อกนี้จะพูดเฉพาะเรื่องของเครื่องมือเด็ดๆที่ให้นักทำ SEO ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เครื่องมือที่จะพูดถึงกันในวันนี้ก็คือเจ้า “Google Analytics

รู้จักกับ Google Analytics

Google Analytics เปรียบเหมือนพวกเครื่องมือที่ไว้เช็ค Stats ทั่วไป มีการดูปริมาณคนเข้าชมในแต่ละวัน กราฟสถิติ จำนวนคนออนไลน์ การเข้าดูของผู้ใช้งาน ดูว่าหน้าไหนมีคนเข้าใช้งานมากที่สุด เพื่อให้เจ้าของเว็บเน้นเป็นจุดๆไปได้ง่ายยิ่งขึ้น จุดเด่นของ Google Analytics จะเหนือกว่าพวกเว็บ Stats ทั่วไปอยู่หลายข้อด้วยกัน มีลูกเล่นมากมายจนแม้แต่เจ้าของเว็บเองก็คงจะมานั่งเช็คทุกวันไม่ไหว เอาเป็นว่าเอาไว้ดูภาพรวมของเว็บก็พอแล้ว ยกเว้นเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่ต้องการเน้นคุณภาพให้ผู้ใช้งานในระดับสูง การเช็คหน้าเว็บเพจที่กำลังได้รับความนิยม แหล่งที่มาของผู้ใช้ และระยะเวลาออนไลน์ในเว็บไซต์ของผู้ใช้โดยเฉลี่ยต่อ 1 คน ค่าพวกนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก หากเรารู้ว่าผู้ใช้ที่เข้ามายังเว็บของเรามาจากแหล่งไหนเป็นหลัก ระยะเวลาการออนไลน์นานหรือเข้าแล้วออกเลย ถ้าเข้าแล้วออกเลย ทำไมถึงเป็นแบบนั้น มันจะเป็นตัวสะท้อนคุณภาพของเว็บเราได้เป็นอย่างดี เพื่อที่จะให้เราดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกใจผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าผลลัพธ์ในด้านบวกของ SEO ก็จะตามมา

ส่วนใหญ่นักทำ SEO บ้านเราจะไม่ค่อยได้มานั่งดูละเอียดกับเครื่องมือนี้มากสักเท่าไหร่ ประมาณว่าติดตั้งไว้กลัวตกเทรนเฉยๆ แต่หากเราติดไว้แต่ไม่ได้ใช้งานก็คงไม่มีประโยชน์มากนัก หากเราต้องการประสบผลสำเร็จในการทำเว็บไซต์ให้ถูกใจผู้ใช้งาน อยากให้เว็บของเราดังจนเป็นที่รู้จักในโลกออนไลน์ ก็ควรให้ความสำคัญกับเครื่องมือนี้มากๆ เพื่อที่จะได้จับทิศทางของกลุ่มผู้ใช้ที่ให้ความสนใจเข้ามาในเว็บเราได้ถูกต้อง อย่างเช่น เว็บเราขายสินค้าความงาม แต่กลุ่มผู้ใช้ไม่ได้เข้ามาจากพวกแหล่งซื้อขายสินค้าความงามที่เราไปโปรโมทโฆษณาไว้ตามเว็บต่างๆ แต่ส่วนใหญ่มาจากการค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine ให้พวกบทความที่เกี่ยวกับการดูแลผิว การรักษาสิว อะไรแบบนี้ เราจะได้จับทิศทางได้ง่ายขึ้นว่า ตอนนี้เราควรมาให้ความสำคัญในส่วนหน้าเว็บที่เป็นบทความที่ค้นส่วนใหญ่ค้นหาเจอและเข้ามาชมก่อนเป็นอันดับแรก แถมบางทีเราอาจจะเจอแหล่งที่มาของผู้ใช้ที่อยู่เหนือการคาดเดาได้เช่นกัน หากเว็บข่าวใหญ่ๆเอาข้อมูลเราไปแชร์แล้วมีคนเข้ามาเยี่ยมชม Google Analytics ก็จะคอยแจ้งให้เราทราบได้ทันทีว่าในช่วง 7 วันนี้ ผู้ใช้งานเข้ามาจากแหล่งไหนมากที่สุด เป็นต้น

เห็นประโยชน์มากขนาดนี้ รู้ไหมว่าใช้ฟรีนะจ๊ะ

ถึง Google Analytics จะเป็นเครื่องมือสารพัดประโยชน์ขนาดนี้ แต่อยากจะบอกว่ามันเป็นเครื่องมือที่เปิดให้เราใช้งานได้ฟรีนะ สาเหตุที่ทาง Google ได้พยายามคิดค้นเครื่องมือต่างๆที่เป็นประโยชน์กับเจ้าของเว็บไซต์ เพราะ Google ต้องการให้เว็บมาสเตอร์ทั้งหลายได้พยายามสร้างเว็บไซต์คุณภาพที่ถูกใจผู้ใช้งานมากที่สุด มันเป็นผลดีกับเจ้าของเว็บทุกคน และในทางกลับกัน ก็เป็นผลดีกับ Google ด้วย เพราะ Robot จะไต่เก็บข้อมูลอยู่ตามเว็บไซต์ทั่วโลกแล้วนำมาประมวลผลจัดอันดับเว็บที่หน้าผลการค้นหา หากมีแต่คนผลิตเว็บห่วยแล้วติดอันดับ ผู้ใช้งานเว็บค้นหาก็คงจะทยอยเลิกใช้ Google อย่างแน่นอน เหมือน Search Engine รายย่อยที่เวลาเราค้นแล้วมักจะเจอพวกเว็บเก่าที่โดนปล่อยร้างมาหลายปี ไม่ก็หน้าเว็บเออเร่อแต่กลับมีอันดับ สุดท้ายคนก็จะไม่ใช้บริการเว็บค้นหาเหล่านั้นในที่สุด

เครื่องมือตัวนี้จะมีฟังชั่นก์อยู่ค่อนข้างเยอะ อยากให้เพื่อนๆลองไปเล่นกันดูเองเพราะเป็นเครื่องมือที่มีภาษาไทยรองรับไว้อยู่แล้ว การใช้คงไม่ได้ยุ่งยากอะไรนัก เพื่อให้เราได้ประโยชน์สูงสุดในการผลิตเว็บไซต์คุณภาพออกมาสู่โลกอินเตอร์เน็ต Google Analytics ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามไปเลย

Domcop

ในวงการ SEO บ้านเรามักจะล้าหลังกว่าแหล่งความรู้ SEO ของต่างประเทศเป็นประจำ คนที่ไปเก็บความรู้จากบอร์ดต่างประเทศก็ไม่ค่อยได้มาแบ่งปันกันในกลุ่มเว็บบอร์ดเมืองไทยสักเท่าไหร่ เหตุผลมันก็มีหลายๆอย่าง เมื่อก่อนสังคมแบ่งปันยังดีอยู่ เดี๋ยวนี้คนที่มาตอบคอมเม้นส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนที่ต้องการขายของผ่านลายเซ็นต์ซะมากกว่า คนแจกเลยไม่ค่อยมีอารมณ์อยากแจกเท่าเมื่อก่อนเลย แต่ทุกสังคมก็ย่อมมีสองด้านเสมอ มีทั้งคนไม่แบ่งปันและคนแบ่งปัน วันนี้เราจะมาพูดถึงอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่กลุ่ม SEO ต่างประเทศนิยมใช้กันมาก และเครื่องมือนี้มีความจำเป็นสูงไม่น้อยสำหรับนัก SEO ที่ต้องการมีเครือข่ายบล็อกเน็ตเวิร์คเป็นของตนเอง มาทำความรู้จักกันเถอะ

Domcop.com เว็บหาโดเมนยอดนิยม

จริงๆเครื่องมือนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นเครื่องมือสำหรับงาน SEO โดยตรง แต่มันมีประโยชน์ทางอ้อมเสียมากกว่า เว็บไซต์ Domcop.com เป็นเว็บที่เปิดให้บริการค้นหาข้อมูลโดเมน คล้ายกับเว็บค้นหาโดเมนทั่วไปอย่างที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีคือ expireddomains.net เป็นเว็บหาโดเมนเก่าแก่มาก แม้แต่ปัจจุบันก็มีคนไทยยังใช้เว็บนี้หาโดเมนกันอยู่ไม่น้อย แต่หลังๆนี่เริ่มจะหาโดเมนลำบากขึ้นเพราะมีคนเข้ามาหากันมากขึ้น กว่าจะประมูลได้แต่ละโดเมนอาจจะต้องเสียเงินเกินกว่าราคาที่ควรจะเป็นอยู่บ่อยครั้ง หากใครที่เจอปัญหาไม่ค่อยเจอโดเมนตรงใจ หรือเจอตรงใจแต่ราคาประมูลวิ่งไปสูงเกินที่คาดไว้เป็นประจำ ลองมาดู Domcop.com ก่อนสักครั้ง อาจจะทำให้เพื่อนๆติดใจในการหาโดเมนจากเว็บแห่งนี้ก็ได้

จุดเด่นของ Domcop คงจะเป็นเรื่องความแม่นยำในการกรองข้อมูลค่อนข้างสูง และเจอโดเมนที่ตรงตามเงื่อนไขในราคาประมูลที่ยังถูกอยู่ คือสมมุติว่าเราจะต้องการโดเมนที่มีค่า TF CF อย่างละ 30 เป็นอย่างน้อย อายุโดเมนเกิน 5 ปี หากเราเปรียบเทียบผลการค้นหาระหว่างเว็บ Domcop.com กับ expireddomains.net ถึงแม้ผลลัพธ์จำนวนโดเมนที่เจอจะพอๆกัน แต่ส่วนใหญ่ Domcop.com จะเจอโดเมนที่ยังมีราคาประมูลถูกกว่าเป็นประจำ บางโดเมนราคาประมูลอยู่แค่ $20 นิดๆและใกล้จะจบการประมูลแล้ว ส่วน expireddomains.net อาจจะเจอ $30 ขึ้นไปเป็นต้น ที่เป็นแบบนี้อาจเป็นเพราะ Domcop ไม่ได้เปิดให้บริการค้นหาโดเมนฟรี แต่จะมีการคิดค่าบริการรายเดือน หากคิดเป็นเงินไทยก็เริ่มต้นเดือนละประมาณ 1 พันบาท ทำให้หลายคนหันหลังให้เว็บค้นหาโดเมนแห่งนี้

วิธีใช้บริการ Domcop แบบไม่ต้องเสียเงินรายเดือน

มันมีเทคนิคการใช้บริการฟรีอยู่ คือปัจจุบันเว็บไซต์แห่งนี้จะมีให้ทดลองใช้ฟรีอยู่ 7 วัน ก่อนที่เราจะใช้บริการฟรีก็ให้ตั้งเป้าไว้ในใจเลยว่าจะหากี่โดเมน ราคาประมาณโดเมนละกี่บาท ส่วนใหญ่ผู้เขียนจะตั้งไว้ที่หาทีละ 10 โดเมน พอเราตั้งเป้าไว้ในใจได้แล้วก็สมัคร E-Mail ใหม่แล้วใช้อินเตอร์เน็ตมือถือในการเอา E-Mail ใหม่ของเราไปสมัครใช้บริการ Domcop เท่าที่ทดลองมา คือมันจะจำค่า IP ด้วย เช่นอีเมล์แรกเราใช้สมัครฟรีไปแล้วผ่าน IP เน็ตบ้าน เวลามันครบกำหนด 7 วันเราก็จะไม่สามารถใช้อีเมล์เก่ามาค้นหาโดเมนได้อีก หรือแม้แต่สมัครอีเมล์ใหม่มากะลงทะเบียนที่เว็บ Domcop เพื่อใช้ฟรีใหม่อีกครั้ง แต่ดันใช้ IP เดิมลงทะเบียน แบบนี้มันก็ไม่ให้ผ่านเท่าที่ผู้เขียนทดลองมา วิธีแก้ก็แสนง่าย แค่ใช้เน็ตมือถือมาสมัครใช้ฟรี 7 วันแทน เน็ตมือถือปกติเวลาปิดเปิดเน็ต มันจะเปลี่ยนเลข IP มันก็จะสามารถใช้ลงทะเบียนฟรีได้อีกเหมือนเราสมัครใหม่จริงๆเลย ในการสมัครใหม่แต่ละครั้ง เราก็ควรจะรีบประมูลโดเมนตามจำนวนที่ตั้งเป้าไว้ในใจ แบบเอาให้ได้ 10 โดเมนใน 7 วัน จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาสมัครเมล์และสลับเน็ตใหม่อีก เวลาจะหาโดเมนเพิ่มอีกสัก 5-10 โดเมนในภายหลัง ก็ค่อยมาทำวิธีเดิม เห็นไหม ใช้ฟรีไม่ต้องเสียเงินสักบาท เสียเวลาสมัครเมล์และสลับเน็ตนิดหน่อยเอง

ในอนาคตไม่รู้ว่าทาง Domcop จะเล่นถึงขั้นห้ามใช้ Mac Address ซ้ำเลยหรือเปล่าก็ต้องดูกันอีกที แต่คิดว่าไม่น่าจะถึงขนาดนั้น Tools SEO ส่วนใหญ่เขาทำใจไว้ส่วนหนึ่งแล้วว่าจะต้องมีกลุ่มที่ค้นหาวิธีใช้ฟรีหรือลดทุนให้จ่ายน้อยที่สุด ( พวก Group Buy ) หากเว็บให้บริการ Tools เหล่านี้ยังคงทำกำไรได้ เขาก็ไม่ได้มานั่งสนใจพวกกลุ่มคนที่ชอบความประหยัดอย่างเราสักเท่าไหร่ แต่ละเว็บไซต์เครื่องมือ SEO มักจะมีช่องโหว่ให้สามารถใช้ฟรีได้อยู่หลายเว็บไซต์ เราก็ใช้อย่างพอควร ถ้าเครื่องมือเหล่านั้นมีดีจริงก็ควรอุดหนุนเขาบ้าง ใจเขาใจเรา

ประโยชน์ของ Domcop ในเชิง SEO

เมื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับค้นหาโดเมนโดยเฉพาะ ประโยชน์หลักของงาน SEO คงจะเป็นเรื่องของการหาโดเมนไปสร้าง Private Blog Network นัก SEO ส่วนใหญ่ย่อมต้องการให้ Private Blog Network ของตนเองมีคุณภาพสูงอยู่แล้ว การหาโดเมนที่มีคีย์เวิร์ดปนอยู่ในชื่อโดเมนถือเป็นวิธีที่ค่อนข้างนิยมอย่างมาก สมมุติว่าคีย์เวิร์ดทำเงินของเราคือ W88 ถ้าเราสามารถหาโดเมนที่มีคุณภาพสูงและชื่อโดเมนมีคำว่า W88 ปนอยู่ด้วย เช่น w88.bingo มันจะช่วยให้การทำ SEO เกิดความง่ายขึ้นหลายเท่าตัว ถ้าใช้เว็บหาโดเมนแหล่งอื่นอาจจะยากสักหน่อยกว่าจะเจอโดเมนที่มีคีย์เวิร์ดปนอยู่ในชื่อโดเมน แต่ถ้าใช้ Domcop เป็นเครื่องมือช่วยหาโดเมน มันจะช่วยประหยัดเวลาในการหาโดเมนไปได้มากกว่าเว็บหาโดเมนแหล่งอื่นอย่างแน่นอน เรื่องของลูกเล่นตัวกรองต่างๆบนเว็บนี้ ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ไม่แพ้เว็บหาโดเมนอื่นเลย หากเราเริ่มมีความชำนาญในการหาโดเมนคุณภาพ กำหนดตัวกรองได้เหมาะสม เราจะเจอโดเมนราคาถูกที่คุณภาพสูงอยู่เยอะมาก ในทุกๆวันจะมีโดเมนแจ่มๆหลุดมา แต่บ่อยครั้งที่บางโดเมนจะรอดจากสายตานัก SEO ส่วนใหญ่ เพราะมันไม่โชว์ในเว็บค้นหาโดเมนอื่น แต่มันดันมาโชว์ในเว็บ Domcop เราก็จะได้เปรียบในเรื่องราคาที่จะประมูลมากกว่าคนส่วนใหญ่ที่ชอบใช้เครื่องมืออื่นโดยมองข้าม Domcop ไปนั่นเอง

Google Search Console

ในช่วงก่อนหน้านี้ เจ้าของเว็บมักจะคุ้นเคยกับเครื่องมือสุดแจ่มที่ชื่อว่า Google Webmaster Tools ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเว็บเล็กหรือใหญ่ หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ของตนอย่างเป็นขั้นตอนที่เหมาะสม มันก็ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยดูแลและตรวจสอบสภาพเว็บไซต์ของเราโดยรวมได้ดีไม่น้อย ไม่ต้องมานั่งไล่งมหาจุมบกพร่องของโครงสร้างเว็บเองให้ปวดหัว มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะหาบัคต่างๆของเว็บไซต์ เพราะพวกบัคเหล่านี้ ถ้าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เราจะไม่ค่อยได้เห็นกัน มันไม่ส่งผลออกมาในหน้าหลักของเว็บเวลาเราเข้าดู แต่ในทางของระบบที่ใช้ในการตรวจสอบจุดผิดพลาดต่างๆอย่าง Google Webmaster Tools มันจะสามารถมองเห็นจุดบกพร่องที่เป็นปัญหาต่อ Robot ในการจะเข้าไปเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ปัจจุบันทาง Google ได้เปลี่ยนชื่อเครื่องมือสุดเจ๋งนี้เป็น Google Search Console เรียบร้อยแล้ว

มาทำความรู้จัก Google Search Console กันสักหน่อย

จริงๆการเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ก็ไม่ได้มีการปรับปรุงเครื่องมือให้ผิดรูปผิดตาไปจากที่เป็นอยู่ มันยังคงความง่ายในการใช้งานแบบเดิมที่เคยเป็น แต่อาจจะมีการเพิ่มฟังก์ชั่นอื่นๆเข้ามาด้วย เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับเว็บมาสเตอร์ที่ต้องการวิเคราะห์เว็บอย่างละเอียด จุดเด่นที่ทำให้ Google Search Console มีความสำคัญมากกับเจ้าของเว็บสมัยใหม่ อย่างแรกเลยคือการแจ้งปัญหา Error ต่างๆให้เจ้าของเว็บได้รับทราบ หากระบบของ Google Search Console พบปัญหาในตัวเว็บของเรา อาจจะเป็นเรื่องของโครงสร้างเว็บที่ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดปัญหาการที่บอทไม่สามารถเข้าไปเก็บข้อมูลในส่วนที่สำคัญต่อการแสดงผลได้ มันจะแจ้งเตือนบอกเราทางหน้าจอหลักของเครื่องมือนี้ เพื่อให้เจ้าของเว็บทราบและดำเนินการแก้ไขอย่างทันท่วงที ก่อนที่เว็บจะตกเป็นเหยื่อของกลุ่ม Hacker ผู้ไม่หวังดีมาเจาะระบบเอาข้อมูลสำคัญของเว็บเราไป หากเราดำเนินการแก้ไขแล้ว ระบบก็จะทำการตรวจสอบดูใหม่อยู่เป็นระยะๆ หากพบว่าการแก้ไขที่ทำไปยังไม่สมบูรณ์เสร็จสิ้น มันจะแจ้งเตือนเราอีกครั้งในส่วนที่ยังเป็นปัญหาอยู่ เห็นไหมล่ะ… ดีขนาดนี้จะไม่ใช้ได้ยังไง

เว็บที่สมบูรณ์ ย่อมทำ SEO ได้ดีกว่าเว็บที่มีปัญหา

เป็นเรื่องปฏิเสธไม่ได้ที่เจ้าของเว็บทั้งหลาย ย่อมอยากให้เว็บไซต์ของตนเองได้ก้าวเข้าไปสู่อันดับ 1 ในคีย์เวิร์ดทำเงิน หากเว็บเรามีปัญหาในหน้าเว็บหรือโครงสร้างของ Code ที่ทำให้บอทไม่สามารถเข้ามาเก็บข้อมูลได้ แบบนี้ย่อมไม่เป็นผลดีในเชิง SEO ส่วนเว็บที่สมบูรณ์แบบ บอทเข้าเก็บข้อมูลได้ง่าย โครงสร้างเว็บไม่มีจุดให้สะดุด ย่อมเป็นที่ถูกใจบอทมากกว่า ก็จะส่งผลดีกว่าในเชิงของ SEO นั่นเอง ยังมีเครื่องมือย่อยอีกมากมายในระบบของ Google Search Console ที่จะทำให้เจ้าของเว็บรู้สึกปลื้ม อย่างนึงที่พลาดไม่ได้คือระบบของ Google Search Console จะมีบอกจำนวนที่เว็บเราถูกนำไปแสดงผลด้วยเวลาที่มีคนค้นหาผ่าน Google ว่ามีการแสดงผลกี่ครั้ง ในคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ยกสัก 1 ตัวอย่าง แบบเว็บ พรทิน่า.com มีขายเครื่องสำอางค์อยู่พอสมควร หากเว็บไซต์พรทิน่ามีการติดอันดับในคีย์เวิร์ดอย่างเช่น สบู่พรทิน่า และมีคนค้นหา ถึงจะไม่ได้คลิกเข้ามาที่เว็บเรา ระบบของ Google Search Console ก็จะมีรายงานบอกทั้งหมดว่าเว็บเราเคยถูกแสดงผลกี่ครั้ง

จุดนี้จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้ผู้รับทำ SEO ทั้งหลายสามารถเลือกให้ความสำคัญในแต่ละคีย์เวิร์ดได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งเว็บเราถูกค้นหาเจอในคีย์เวิร์ดไหนมาก เราควรจะให้ความสำคัญในหน้าที่ติดอันดับนั้นมากขึ้นกว่าเดิม อาจจะใส่เนื้อหาเพิ่ม ปรับแต่งหน้าเว็บเพจนั้นๆให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เพื่อเวลามีคนเข้ามาเยี่ยมชมจะสามารถปิดการขายลูกค้าได้ดีขึ้น หรือหากเป็นเว็บเนื้อหาทั่วๆไป ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมจะได้ประทับใจและเวียนกลับเข้ามาเยี่ยมชมในภายหลังอีก แถมการที่เราปรับแต่งเนื้อหาเว็บให้ดีต่อผู้ใช้งาน มันก็จะเป็นตัวสะท้อนอันดับในผลการค้นหาของเราให้ไต่ขึ้นไปสูงกว่าที่เป็นอยู่ได้อีกด้วย

หากไม่ใช้งาน Google Search Console จะมีข้อเสียกับเว็บหรือไม่ ?

ถ้าเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์แต่ไม่อยากใช้เครื่องของฟรีของ Google Search Console จริงๆก็ไม่ได้เสียหายอะไร เว็บเราไม่ได้มีข้อเสียเพิ่มขึ้น แต่เจ้าของเว็บอาจต้องเสียเวลาในการหาจุดบกพร่องของเว็บนานกว่าการใช้เครื่องมือนี้ เพราะต้องมานั่งงมหาเอง คงไม่เหมาะกับเจ้าของเว็บมือใหม่ที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่อง Coding สักเท่าไหร่ การที่เราใช้เครื่องมือดีๆอันนี้ของ Google ก็เปรียบเหมือนเรายอมเปิดเผยข้อมูลให้ทาง Google ตรวจสอบ หากเราทำเว็บด้วยความตั้งใจจริง ไม่เคยทำอะไรที่เข้าข่ายการสแปมหรือมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อเว็บคุณภาพ มันย่อมเป็นประโยชน์หากเราเลือกที่จะใช้เครื่องมือนี้ Search Engine ย่อมชอบเว็บคุณภาพเป็นธรรมดา แต่หากเว็บเรามีการทำแบบเข้าข่ายสุ่มเสี่ยง Spam มาก่อน ก็ไม่ควรใช้เครื่องมือนี้แน่นอน เพราะหากระบบตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด แล้วเจอสิ่งที่ไม่เหมาะสม มันก็จะจัดการเว็บเราในทันที ถึงแม้ท้ายที่สุดเว็บที่ชอบสแปมชาวบ้านจะต้องพบจุดจบด้วยการโดนตบจนอันดับร่วงหายแม้จะไม่ได้ใช้เครื่องมือนี้ก็ตาม แต่การเอาเว็บของเราแอดเข้าไปในเครื่องมือ Google Search Console มันอาจจะทำให้เว็บเราโดนจัดการได้ไวกว่าเดิม

ทีนี้เราก็รู้ถึงความสำคัญของเครื่องมือสุดเจ๋งอย่าง Google Search Console กันไปแล้ว หากทำเว็บดีมีคุณภาพ ก็ควรจะลองใช้มันดูสักครั้ง ของฟรีและดีแบบนี้ไม่ได้มีให้ใช้บ่อยๆนะ แถมอันนี้ยังเป็นของในเครือ Google เอง ดังนั้นเรื่องความปลอดภัยจึงสูงแน่นอน