คุณอาจยังไม่รู้ว่า Google ที่เป็น search engine ยักษ์ใหญ่ที่สุดมีเครื่องมือในการทำงานด้าน SEO ให้กับตัวเองถึง 3 ระบบด้วยกัน โดยแต่ละระบบนั้นทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป แต่เครื่องมือทุกตัวนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน เราเลยนำเอาเครื่องมือทั้ง 3 ประเภทนี้มาให้คุณได้ทำความรู้จักก่อนทำ SEO กัน

ทำความรู้จักกับ เครื่องมือทั้ง 3 ประเภท

Neural Matching

มาที่อัลกอริทึมตัวแรกที่ชื่อว่า Neural Matching ซึ่ง Google ได้สร้างขึ้นมาเพื่อให้ตรวจสอบความหมายของคำต่าง ๆ ที่ user ใช้ในการค้นหาและถือว่าเป็นด่านแรกที่คุณจะต้องเจอในการทำ SEO

ทำอย่างไร ให้เว็บไซต์ของคุณเข้าได้กับ Neural Matching?

สิ่งที่ Neural Matching ชอบให้คนทำเว็บไซต์ทำ นั่นก็คือการทำ content ที่มีคุณภาพ โดยเป็นเนื้อหาที่ไม่ได้มาจากการคัดลอกจากเว็บไซต์อื่นแล้วมาแปะบนเว็บไซต์ของตัวเอง รวมถึงไม่ได้เป็นบทความแบบ spinning ด้วย เพราะการทำ content แบบนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีคุณภาพเอาซะเลย อีกทั้งยังไม่สร้างสรรค์อีกด้วย

RankBrain

อัลกอริทึมตัวที่ 2 นี้เราจะคุ้นตาเป็นอย่างดี เพราะมีการพูดถึงบ่อย ๆ จากปากของคนทำ SEO ซึ่งมันจะทำหน้าที่ช่วยเหลือ Neural Matching ให้ทำงานง่ายขึ้นโดยเก็บข้อมูลพฤติกรรมของ user นั่นเอง

ทำอย่างไร ให้เว็บไซต์ของคุณเป็นมิตรกับ RankBrain?

อาจจะเป็นเรื่องยากหน่อยที่จะทำความเข้าใจ RankBrain เพราะมันทำหน้าที่ในการจัดอันดับของเว็บไซต์ไปพร้อม ๆ กับ keyword ที่คนใช้ในการค้นหา ฉะนั้นหากคุณอยากเอาชนะ RankBrain ก็ควรตรวจสอบการจัดอันดับของเว็บไซต์ไปพร้อมกับ keyword ในการทำ SEO ทุก ๆ ครั้งที่มีการ monitor เว็บไซต์ โดยอาจเป็นรายอาทิตย์หรือรายเดือนก็ได้

BERT

อัลกอริทึมตัวที่ 3 ที่ทาง Google ใช้ ก็คือ BERT นี่เอง โดยหน้าของมันคือวิเคราะห์โครงสร้างของการค้นหาเพื่อให้ Google เข้าใจบริบทของคำที่ user ใช้ค้นหาบนช่อง search

ทำอย่างไร ให้เว็บไซต์ของคุณได้ใจ BERT?

อัลกอริทึม BERT ตัวนี้มีความชอบเหมือนกันกับ Neural Matching โดยมันชอบให้คุณทำเว็บไซต์ออกมาให้มีคุณภาพ content ในแต่ละหน้านั้นต้องเป็น content ที่มีคุณภาพ เช่น เป็นเนื้อหาที่ประกอบไปด้วยตัวหนังสือและเนื้อหาที่พูดถึงเรื่องเดียวกันทั้งหน้า โดยมี keyword เข้ามาเป็นตัวแทรกแล้วยังมี related keyword เข้ามาเสริมทัพอีกด้วย โดยชื่อหัวข้อของเนื้อหาและชื่อรูปภาพก็มีการแทรก keyword เข้าไปด้วยนั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างกับอัลกอริทึมทั้ง 3 ตัวของ Google ที่คุณได้รู้จักกันไปจากข้อมูลเด็ด ๆ ด้านบน? เอาล่ะ! มาถึงตอนนี้แล้วคุณคิดออกหรือยังว่าจะปรับแต่งเว็บไซต์ เนื้อหา และส่วนประกอบของเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ SEO เพื่อให้ได้ใจอัลกอริทึมหลักทั้ง 3 แบบของ Google ได้อย่างไรบ้าง

ทำความรู้จักกับ เครื่องมือทั้ง 3 ประเภท

กำลังวางแผนคีย์เวิร์ดเพื่อทำ SEO ต้องรู้อะไรบ้าง

ขั้นตอนแรกในการทำ SEO แบบ on-page นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องของการวางแผนคีย์เวิร์ดเพื่อใช้ในการสร้างเนื้อหานั่นเอง โดยไม่ได้เป็นการสนใจแต่การหาคีย์เวิร์ดที่คุณคิดว่าจะมีคนค้นหาเยอะเท่านั้น แต่จะมีอะไรบ้างที่คุณต้องให้ความสำคัญในขั้นตอนของการวางแผนคีย์เวิร์ด เรามาดูกันเลยดีกว่า

ขั้นตอนการวางแผนคีย์เวิร์ด

คีย์เวิร์ดหลัก

เป็นคีย์เวิร์ดที่คุณจะใช้เป็นคีย์เวิร์ดในเนื้อหาทุกเนื้อหา ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง short tail keywords และ long tail keywords แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการสร้างเนื้อหาจะต้องมีคีย์เวิร์ดหลักนี้แทรกอยู่ในเนื้อหาอยู่ด้วยเสมอ เปรียบเสมือนฉายาที่จะอยู่ในทุกหนแห่งบนเว็บไซต์ อีกทั้งยังเป็นคีย์เวิร์ดที่คุณประเมินมาแล้วว่าจะช่วยให้มีคนใช้ค้นหาแล้วนำมาสู่การคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ของคุณ

คีย์เวิร์ดรอง

บางคนที่กำลังสร้างเนื้อหา SEO อาจใช้เพียงแค่คีย์เวิร์ดหลักเท่านั้น แต่ลืมไปว่ายังมีคีย์เวิร์ดรองที่ควรนำมาสร้างเนื้อหาด้วยเช่นกัน โดยการมีคีย์เวิร์ดรองนี้จะเป็นแรงเสริมให้เนื้อหาของคุณมีการผสมผสานระหว่างคีย์เวิร์ดที่คนส่วนใหญ่ใช้ในการค้นหากับคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณนั่นเอง และอีกเช่นเคย คีย์เวิร์ดรองนี้สามารถเป็นได้ทั้ง short tail keywords และ long tail keywords ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกเนื้อหาแต่จะใช้เมื่อมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับคีย์เวิร์ดรองนั้น ๆ

Search volume

หากคุณใช้ Google keyword planner ในการวางแผนคีย์เวิร์ด สิ่งที่คุณสามารถคาดการณ์ได้ก็คือปริมาณการค้นหาบนช่องค้นหาของ Google หรือที่เราเรียกว่า search volume นั่นเอง โดยมีประโยชน์เพื่อให้คุณทราบว่าควรเลือกใช้คีย์เวิร์ดไหนที่สุดและควรตัดคีย์เวิร์ดไหนออกไปเพื่อลดความลำบากในการสร้างเนื้อหา ซึ่งวิธีสังเกตคือเลือกคีย์เวิร์ดที่มี search volume 1000 ครั้งต่อเดือนขึ้นไป เพราะหากน้อยกว่านี้นั่นหมายความว่าคีย์เวิร์ดนั้นไม่ได้มีคนสนใจใช้ในการค้นหาบน Google นั่นเอง

Competition

อีกหนึ่งสิ่งที่คุณสามารถคาดการณ์ได้จาก Google keyword planner ก็คือ competition หรือความยากในการแข่งขัน ซึ่งในหน้าของ Google keyword planner จะบอกความยากเป็น 3 ระดับก็คือ Low, Medium และ High โดยเป็นการวิเคราะห์จากความต้องการของคนที่ต้องการซื้อโฆษณาบน Google Ads ซึ่งการคาดการณ์นี้เป็นตัวช่วยในการบอกความยากในการทำ SEO แบบอ้อม ๆ เพราะยิ่งมีการแข่งขันเพื่อซื้อโฆษณาสูงเท่าไหร่ นั่นอาจหมายความว่ายิ่งมีคนต้องการใช้คีย์เวิร์ดนั้น ๆ ในการทำ SEO เช่นเดียวกัน

แล้วทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญในขั้นตอนของการวางแผนค้นหาคีย์เวิร์ดที่ใช่สำหรับเว็บไซต์ของคุณและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำไปสร้างเป็นเนื้อหา SEO ที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

ขั้นตอนการวางแผนคีย์เวิร์ด

SEO เทคนิคโปรโมทงานฟรีแลนซ์

ฟรีแลนซ์ (Freelance) คือ อาชีพรับจ้างอิสระที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นอาชีพที่ไม่ต้องทำงานอยู่ภายในหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งผู้ที่เหมาะกับอาชีพฟรีแลนซ์ควรมีลักษณะนิสัยที่มีความรับผิดชอบและมีความอดทนสูง เพราะงานค่อนข้างหนักและต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

ในปัจจุบันบริษัทหลายแห่งเลือกใช้ฟรีแลนซ์ในการทำงานเฉพาะทางเป็นครั้งคราวมากกว่าการจ้างพนักงานประจำ เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการจ้างพนักงานประจำ ทำให้ฟรีแลนซ์จึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่ที่เพิ่งก้าวเข้าสู่วงการ การหาลูกค้าที่จะจ้างงาน จำเป็นต้องใช้เทคนิค SEO เพื่อโปรโมทตัวเองให้เป็นที่รู้จักก่อน ซึ่งวิธีโปรโมทผลงานสามารถทำได้ ดังนี้

ทำเทคนิค SEO โปรโมทผลงาน

ออกแบบเว็บไซต์สำหรับโปรโมทงานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปอย่าง WordPress โดยชื่อเว็บไซต์ควรมีความเป็นเอกลักษณ์ สั้น กระชับเพื่อให้เกิดการจดจำ

กรอกข้อมูลการสำคัญ เขียนคำอธิบายเว็บไซต์ รวมถึงช่องทางการติดต่อให้ครบถ้วน โดยในส่วนของคำอธิบายเว็บไซต์ควรแทรก Keyword เอาไว้เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

ทำ Resume ให้ดูน่าสนใจและบอกถึงความสามารถของตัวเองให้ครอบคลุมที่สุด เพื่อให้ลูกค้าใช้ในการตัดสินใจหากมีความสนใจจะจ้างงาน

บอกรายละเอียดงานที่รับจ้างทำลงเว็บไซต์ โดยเขียนราคาค่าจ้างคร่าว ๆ เอาไว้ด้วยเพื่อให้ลูกค้าได้กะงบประมาณที่เหมาะสม

อัปโหลดบทความสาระความรู้โดยแทรกคีย์เวิร์ดเอาไว้ในอัตราส่วน 1% ของจำนวนคำทั้งหมดในบทความ โดยจำนวนคำที่เหมาะสมในการเขียนบทความควรเขียนให้มากกว่า 300 คำเสมอ และอัปโหลดบทความใหม่ในทุกวัน เพื่อให้เว็บไซต์มีการเคลื่อนไหว นอกจากนี้หากต้องการแทรกรูปภาพลงในบทความเพื่อให้บทความดูน่าสนใจ ควรเริ่มที่การเซฟชื่อไฟล์รูปด้วย Keyword และเขียนคำอธิบายรูป หรือ Alt image ด้วย Keyword เพื่อให้ Search Engine เข้าใจว่าเป็นรูปเกี่ยวกับอะไร

หากต้องการยกระดับเว็บไซต์ควรทำ Clip VDO เพื่อโพสต์ลงคู่กับบทความเอาไว้ให้ลูกค้าที่ไม่ต้องการอ่านบทความยาว ๆ โดยเนื้อหาของ VDO อาจเป็นแนวรีวิวลักษณะการทำงานของตัวเอง หรือวิดีโอให้ความรู้ ซึ่งนำเนื้อหาในบทความมาทำเป็นวิดีโอแทน หรืออาจเพิ่มแพลตฟอร์ม Podcast เข้าไปด้วย เพื่อให้เว็บไซต์มีความทันสมัยก้าวทันโลกยุคปัจจุบัน

SEO หรือ Search Engine Optimization เป็นเทคนิคโปรโมทงานที่ดีที่สุดสำหรับฟรีแลนซ์ เนื่องจากการ Upload Content ที่น่าสนใจต่าง ๆ จะทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในฝีมือการทำงานมากขึ้น รวมถึงเป็นช่องทางที่สามารถหารายได้เสริมจากการขายพื้นที่โฆษณาให้กับแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ด้วย

การทำ SEO เป็นความรู้ที่ฟรีแลนซ์ควรทราบและควรทำ เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ทราบถึงฝีมือ การไม่ทำเว็บไซต์ในปัจจุบันก็เหมือนการเปิดร้านอยู่ในซอยตันที่แม้จะมีฝีมือแต่ก็ไม่มีคนหาเจอ ดังนั้น SEO จะทำให้คุณกลายเป็นที่รู้จักและมีงานเข้ามาไม่ขาดสาย

ทำเทคนิค SEO โปรโมทผลงาน

อาชีพที่ต้องเกี่ยวข้องกับ SEO มีอะไรบ้าง

SEO หรือ Search Engine Optimization เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เว็บไซต์ทุกประเภทสามารถขึ้นมาติดอันดับบนหน้าแรกของ Search Engine ได้ การติดอันดับบนหน้าแรกของ Search Engine จะส่งผลให้เป้าหมายของเว็บไซต์ประสบความสำเร็จ

หลักของการทำ SEO มีจุดเริ่มต้นที่การเลือก Keyword ที่มีกลุ่มเป้าหมายค้นหาปริมาณมาก แต่มีอัตราการแข่งขันต่ำ จากนั้นนำ Keyword มาทำเป็น Content ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่เว็บไซต์แต่ละประเภทต้องการ โดยต้องทำ Content ที่น่าสนใจและมีความสดใหม่ออกมาอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับคนที่ไม่เคยทำเว็บไซต์อาจไม่เข้าใจและไม่รู้ว่า SEO จะสามารถทำเป็นอาชีพได้อย่างไร? ซึ่งอาชีพที่ต้องเกี่ยวข้องกับการทำ SEO มีดังนี้

การทำ SEO เกี่ยวข้องกับอาชีพไหนบ้าง

นักการตลาดออนไลน์ – ทุกบริษัท ห้าง ร้าน ย่อมต้องการพื้นที่โฆษณาที่ดีที่สุดเพื่อให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น ในอดีตพื้นที่โฆษณาที่ดีมักจะต้องเสียเงินจำนวนมากเพื่อจ่ายให้กับช่องโทรทัศน์และแทรกในรายการทีวีชื่อดังต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันพื้นที่โฆษณาที่ดีที่สุดต้องอยู่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งการทำให้เว็บไซต์ของบริษัท ห้างหรือร้านเหล่านั้นได้ยอดขายมากที่สุดต้องพึ่งนักการตลาดช่วยทำให้เว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าแรกของ Search Engine

แม่ค้าหรือพ่อค้าออนไลน์ – อาชีพพ่อค้าหรือแม่ค้าออนไลน์ เป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน เนื่องจากอาชีพนี้เป็นอาชีพอิสระที่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำมากมายและสามารถเริ่มต้นได้ง่ายกว่าในอดีตมาก แต่เมื่อตั้งร้านค้าออนไลน์การทำเว็บไซต์ให้กับร้าน จะช่วยให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวและยังได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมากกว่าด้วย

นัก SEO หรือฟรีแลนซ์รับทำ SEO – เป็นอาชีพที่ต้องมีความรู้เรื่อง SEO ระดับโปร โดยนัก SEO เป็นอาชีพที่ต้องแก้ปัญหาให้กับเว็บไซต์ที่ต้องการปรับแก้ SEO ให้มีความถูกต้อง ตรงจุดมากขึ้นและทำให้เว็บไซต์ขึ้นมาติดอันดับบนหน้าแรกของ Search Engine ซึ่งนัก SEO จะแตกต่างกับนักการตลาดออนไลน์ตรงที่ นัก SEO จะทำงานเกี่ยวกับ SEO โดยตรง แต่นักการตลาดออนไลน์จะดูแล Social Media เป็นหลัก

นักเขียนบทความ SEO – มีผู้ประกอบอาชีพนี้จำนวนมากในปัจจุบัน แต่มีจำนวนผู้ที่เขียนบทความ SEO ได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เป็นเพราะการเขียนบทความที่มี Keyword ตายตัวมีความยากกว่าการเขียนบทความทั่วไปมาก โดยนักเขียน บทความ SEO จะเขียนเรื่องทั่วไปให้สามารถเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่ถูกว่าจ้างมาได้

Youtuber – การทำช่องยูทูปก็จำเป็นที่ต้องเรียนรู้เรื่องหลักการทำ SEO พื้นฐาน เนื่องจากการทำให้ช่องติดอันดับบน Search Engine ย่อมทำให้มียอดวิวมากกว่า เพื่อเปิดโอกาสในพื้นที่ธุรกิจที่มากขึ้นด้วย

ในความเป็นจริงแล้ว SEO เกี่ยวข้องกับอีกหลายอาชีพ เนื่องจากการทำเว็บไซต์ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไป ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ ทำให้ความรู้ SEO จึงเป็นหนึ่งความรู้ที่คนรุ่นใหม่ควรเรียนรู้เอาไว้ เพื่อเสริมศักยภาพของธุรกิจบนโลกออนไลน์ให้เหนือคู่แข่ง

การทำ SEO เกี่ยวข้องกับอาชีพไหนบ้าง

จะตั้งชื่อบทความ SEO ให้น่าสนใจ ต้องทำอย่างไร

บทความ SEO เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเว็บไซต์ออนไลน์ทุกแห่ง เพราะสอดคล้องกับหลักการ SEO หรือ search engine optimization ที่ Google คิดค้น และทำให้เพิ่มการเข้าถึงลูกค้าเป้าหมาย ช่วยในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก และเพิ่มยอดขายสินค้าให้มากขึ้นได้ การตั้งชื่อบทความ SEO จึงเป็นส่วนสำคัญทำให้ดึงดูดใจกลุ่มลูกค้า ให้คลิกเข้ามาชมรายละเอียดและสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ของคุณได้

การตั้งชื่อบทความ SEO ที่คุณสามารถเรียนรู้ได้ เพื่อทำให้น่าสนใจขึ้น มีดังนี้

ตั้งชื่อไว้หลายหัวข้อ เพื่อเลือกอีกทีหนึ่ง

การตั้งชื่อบทความไม่ได้จบเพียงแค่ตั้งชื่อบทความเดียวแล้วใช้ได้เลย ควรที่จะคิดหลาย ๆ หัวเรื่อง โดยใส่ keyword SEO เดียวกัน เพื่อคัดชื่อที่ถูกใจที่สุดและคิดว่าเข้ากับเนื้อหาของบทความมากที่สุดตัวอย่างเช่น คุณต้องการเขียนเรื่องโทรศัพท์ มือถือ Huawei รุ่นใหม่ ก็สามารถตั้งชื่อได้ว่า มาแล้วหัวเหว่ย 2020 ของมันต้องมี หรือ ไม่อยากพลาดของดีราคาถูก Huawei 2020 มาแล้ว หรือ หัวเหว่ย 2020 มีอะไรดี ทำไมเซียนมือถือต้องยอม เป็นต้น แล้วค่อยเลือกแบบที่คุณถูกใจมากที่สุดไปใช้จริง

ใส่ตัวเลขใกล้ ๆ keyword

มีการเก็บสถิติด้วยระบบอัลกอริทึ่มแล้วพบว่า การตั้งชื่อที่ใส่ตัวเลขในหัวข้อบทความ ร่วมกับ keyword SEO จะเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้คนได้ดีกว่าการเขียนตัวอักษรเพียงอย่างเดียว จากผลการวิเคราะห์พบว่า หัวข้อที่มีการใส่ตัวเลขนั้น จะกระตุ้นให้ผู้อ่าน 1 ใน 3 คน ตัดสินใจ คลิกเข้ามาดูมากขึ้น ซึ่งมักจะเป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้วิธี เทคนิค วิธีแก้ปัญหา ฯลฯ ที่ กลุ่มเป้าหมายกำลังมองหาอยู่ ทั้งนี้ คนจะสนใจเลขคี่ 1 3 5 7 มากกว่าเลขคู่ ด้วย

ใส่คำที่ตรงใจคนอ่าน

ต้องใส่คำที่จูงใจคนอ่านอยู่เสมอ เช่น ฟรี ราคาถูก ขั้นเทพ สุดยอด ที่สุด ห้ามพลาด ต้องมี ฯลฯ ตามหลักจิตวิทยาแล้ว คำเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้คนหยุดคิด และตัดสินใจคลิกดูรายละเอียดมากขึ้น ซึ่งเป็นผลเดียวกันในทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้ คำที่คนกำลังนิยมใน Hashtag ต่าง ๆ อย่างเช่น ของมันต้องมี ก็สามารถใส่ในกรณีที่ต้องการกระตุ้นยอดซื้อสินค้าแนวแฟชั่น อุปกรณ์ไอที เสื้อผ้ารองเท้า มือถือ ฯลฯ ได้เป็นอย่างดีด้วย

การตั้งชื่อบทความ SEO ที่น่าสนใจ เป็นสิ่งที่สามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ เพียงเข้าใจหลักจิตวิทยาทางการตลาด และนำไปปรับใช้เสมอ ๆ จะสามารถดึงดูดความสนใจให้ผู้อ่านคลิกเข้ามาดูบทความของคุณได้

อย่างไรก็ตาม จุดสำคัญ คือ การใส่ใจคุณภาพของเนื้อหา ที่ผู้เขียนต้องตั้งใจผลิตบทความที่มีคุณภาพ ค้นหาเทรนด์ใหม่ ๆ มาเล่าเสมอ การมีเนื้อหาที่น่าสนใจทันสมัยตลอดเวลา จะทำให้ผู้อ่านประทับใจและเกิดการสั่งซื้อสินค้าของคุณได้มากขึ้นด้วย

การตั้งชื่อบทความ SEO ที่คุณสามารถเรียนรู้ได้

SERPs คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อเว็บไซต์ SEO

การทำเว็บไซต์ SEO นอกจากการใช้เครื่องมือตัวช่วยเสริมคุณภาพอย่าง wordpress และ yoast SEO แล้ว ฯลฯ จำเป็นต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบจากเว็บไซต์ทางธุรกิจอื่น ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าออนไลน์มากขึ้นด้วย

ซึ่ง Google SERPs เป็นหน้าจอรวมผลการสืบค้นหลังจากพิมพ์หาด้วยคีย์เวิร์ดหนึ่ง ๆ ซึ่งผู้ทำเว็บไซต์ทุกคนสามารถเรียนรู้เป็นกรณีศึกษาในประเด็นต่าง ๆ เพื่อเอามาต่อยอดพัฒนาเว็บไซต์ตัวเองให้ดีขึ้นได้

Google SERPs ย่อมาจากคำว่า Search Engine Result Pages ประกอบไปด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ

1. ส่วน organic SERPs

แสดงผลเว็บไซต์ SEO ที่ระบบ Google จัดลำดับจากข้อมูลสะสมทั้งด้าน On-page และ off-page SEO ของเว็บไซต์คุณภาพสูงไปต่ำ โดยทั่วไปแล้วเว็บไซต์ 1-10 อันดับที่อยู่ในหน้าแรกจะมีคุณสมบัติตรงตามหลัก SEO กว่าเว็บไซต์ที่อยู่ในหน้าหลัง ๆ

2. ส่วน Paid SERPs

หรือที่เรียกว่าสปอนเซอร์ลิงก์ หมายถึงเว็บไซต์ที่มีการประมูลพื้นที่โฆษณา มักจะปรากฏอยู่ทางด้านบนหรือล่างของหน้าต่างการสืบค้น

การทำเว็บไซต์ SEO โดยทั่วไปมุ่งเน้นผลระยะยาว และประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณา ผู้ที่พัฒนาเว็บไซต์ SEO อย่างต่อเนื่อง จะมีอันดับด้านบน ๆ ของ organic Google SERPs ได้ยาวนาน

ซึ่งหลักเกณฑ์ที่ระบบ algorithm ของ Google ใช้ในการคัดเลือกจัดวางลำดับเว็บไซต์ SEO ในส่วน organic SERPs ที่สำคัญ ได้แก่

1. ชื่อเรื่องหรือ title

ชื่อเรื่องจะปรากฏเป็นส่วนแรกให้คนเห็น หากตั้งชื่อได้น่าสนใจก็จะกระตุ้นให้มีคนคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ เป็นการเพิ่มค่า Traffic หรือว่า Total clicks ในเว็บไซต์

2. Meta Description

คือ บทคัดย่อความยาวประมาณ 100 คำ เป็นตัวอักษรขนาดเล็กอยู่ใต้หัวข้อ Title เป็นการบอกคร่าว ๆ ว่าหากคลิกเข้ามาแล้วจะเจอเนื้อหาใดบ้าง

3. Keyword

ใน 1 บทความของแต่ละหน้าไม่ควรมี keyword เกิน 3 คำ และใส่ซ้ำไม่เกิน 4-5 ตำแหน่งต่อบทความ 1000 คำ แนะนำให้ใช้คีย์เวิร์ดที่มาจากการวิเคราะห์ด้วย Google keyword planner จะช่วยให้บทความมีประสิทธิภาพสื่อสารถึงผู้อ่านได้ดียิ่งขึ้น

4. ความยาว

ยิ่งเนื้อหายาว 1000-2000 คำ ก็จะยิ่งเพิ่มระดับ SEO ได้ดีขึ้น ถ้ามีการวิเคราะห์ประเด็นในเชิงลึกและกว้าง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน สร้างความดึงดูดใจและเป็นเอกลักษณ์ให้กับเว็บไซต์ด้วย

หากคุณต้องการทดสอบ ให้ลองพิมพ์ keyword ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณลงไป หากเจอเว็บไซต์ตัวเองอยู่ในอันดับ 1-10 ของหน้าแรกแสดงว่าทำ SEO มาเหมาะสมแล้ว แต่หากเจอแต่เว็บไซต์ของคู่แข่ง ให้พิจารณาจากประเด็นที่เรากล่าวมา จะทำให้เห็นทิศทางที่ควรพัฒนาเว็บไซต์ตัวเองได้

หากรู้หลักการในการทำเว็บไซต์ SEO ที่ดี และมาศึกษาตัวอย่างจากเว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จใน Google SERPs ดังที่ปรากฏอยู่ในอันดับต้น ๆ เสมอ ก็จะช่วยให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจน และนำไปปรับปรุงเพื่อเพิ่มยอดขายและขยายฐานลูกค้าให้กับเว็บไซต์ธุรกิจของตัวเองได้มากขึ้น

Google SERPs เป็นหน้าจอรวมผลการสืบค้น

ปัญหา 404 Page not found หรือเปิดหน้าเพจไม่ได้ เป็นสิ่งที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของแบรนด์ และทำให้อันดับ SEO ในการสืบค้นของเว็บไซต์ลดลง จึงต้องคอยตรวจสอบปัญหาความผิดพลาด 404 Error นี้ เพื่อแก้ไขอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา 404 Page not found ได้แก่

การปรับแก้ไขเว็บไซต์ใหม่โดยใช้โดเมนเดิม ทำให้ URL address ที่เคยบันทึกไว้ในหน้าสารบัญหรือ index ของ Google นั้น สูญหายไป

มีการแก้ไขชื่อของเพจ ไม่ว่าจากไทยเป็นอังกฤษ หรือ อังกฤษเป็นไทย ทำให้มีการเชื่อมโยงที่ผิดพลาดได้

จากการใช้ตัว Demo หรือว่าชุดทดลองของ WordPress ในการทำเพจในเว็บไซต์ช่วงแรก ซึ่งเมื่อมีการแก้ไขในระยะต่อมา ทำให้เปิดลิงก์ไม่ได้

โดยเบื้องต้น ให้เจ้าของเว็บไซต์ ตรวจสอบหา 404 Error โดยเข้าไปที่ Google Search Console ว่ามี 404 Page not found อยู่ในเว็บไซต์ของคุณหรือไม่ โดยจะปรากฏอยู่ในหัวข้อที่เรียกว่า Crawl Error

เมื่อมีปัญหา 404 Page not found จะต้องย้ายที่อยู่ URL address จากหน้าที่มีปัญหา หรือที่เรียกว่า source URL ไปสู่ Target URL ใหม่ ซึ่งผู้ดูแลเว็บไซต์สามารถที่จะใช้ plugin หลายชนิด เพื่อแก้ปัญหานี้ได้ เช่น

1. Plugin Redirections

เป็นปลั๊กอินที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ฟรีเพื่อแก้ไขปัญหานี้โดยเฉพาะ โดยให้เข้าไปที่หัวข้อ Tools หลังจากนั้นเลือกหัวข้อ Direction แล้วทำการเปลี่ยน URL address เสียใหม่ และกดยืนยันคำสั่งด้วย คำว่า Add Direction หลังจากนั้นให้ไปกดที่ Mark as Fixed ของ Google Search Console เพื่อเป็นการยืนยันกับระบบ Google อีกครั้งหนึ่ง

2. Plugin Yoast SEO Premium

เป็นปลั๊กอินที่ให้ความสะดวกในการแก้ไข 404 Page Not Found อย่างมาก แต่ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายที่ตามมา หากเป็นแบบ Yoast SEO เวอร์ชั่นฟรี จะไม่สามารถใช้ได้

โดยให้เข้าไปที่หัวข้อ Search Console และนำรหัสเฉพาะออกมา เพื่อที่จะคัดลอกลิงก์ URL address ที่มีปัญหาออกจาก Google โดยคลิกที่ตำแหน่งช่องที่เขียนว่า Get Google Authorization Code จึงจะเข้าสู่โหมดแก้ไขแก้ไข 404 Error ได้ในหมวด 301 Redirect โดยไม่ต้องไปดำเนินการใด ๆ ใน Google Search Console อีก จึงนับว่าเป็นช่องทางที่สะดวกมากกว่าการใช้ plugin ชนิดแรก

3. Plugin Rank Math SEO

เป็นปลั๊กอินรุ่นใหม่ที่สามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี โดยสามารถแก้ URL address ที่มีปัญหาได้ในฟังก์ชัน Redirections ซึ่งหลังการแก้ไขแล้ว ให้กด activate ยืนยัน โดยสามารถดูการเปลี่ยนแปลง URL ได้โดยการเข้าในฟังก์ชันเดิมนี้อีกครั้ง จะเห็น URL ที่เพิ่งตั้งค่าใหม่ปรากฏขึ้น

ปัญหา 404 Page not found Error กระทบต่อความเชื่อมั่นของเว็บไซต์ และส่งผลให้ธุรกิจมีอันดับการสืบค้นลดลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการคัดกรองคุณภาพเว็บไซต์ด้วยระบบอัลกอริทึมใน Google ผู้ดูแลเว็บไซต์จึงต้องหมั่นตรวจสอบและเรียนรู้การใช้งาน plugin ที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหานี้อย่างรวดเร็วและสะดวกต่อการใช้งานที่สุด

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา 404 Page not found