VOICE SERCH เทรนด์ใหม่ สำหรับ SEO ปี 2021

Voice Search คือฟังก์ชั่นการค้นหาด้วยเสียง ของ Google ซึ่งประเทศไทย ยังมีอัตราการใช้งานไม่มากนักเพราะส่วนใหญ่ยังคงคุ้นเคยกับการค้นหาด้วย คำ หรือ Keyword แต่เชื่อหรือไม่ว่า Voice Search กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่นิยมโลกการสื่อสารบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ดังนั้นวันนี้เราจะไปทำความรู้จักกับ Voice Search กันสักนิดว่า มีหลักการทำงานและความสำคัญอย่างไรต่อระบบ SEO ในปี 2021

การทำ SEO (Search Engine Optimization) ด้วยการค้นหาคำตอบบน Google search อาจลดบทบาทลง ด้วยมุมมองใหม่ที่เริ่มปรับตัวจากสถิติการเติบโตของ Voice Search Optimization การค้นหาด้วยเสียง เช่นเดียวกับหลายบริษัทที่หันมาให้ความสำคัญกับฟังก์ชันนี้ เช่น Siri ของ Apple , Alexa ของ Amazon , Cortana ของ Microsoft , และ Bixby ของ Samsung เป็นต้น

แม้ว่าในปัจจุบัน กลุ่มคนที่ใช้แอปพลิเคชันบนมือถือจะยังคงยึดติดกับการค้นหาคำแบบ Keyword เป็นหลัก แต่เราจะเห็นได้ชัดว่า Voice Search มีความทันสมัย ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพมาก ด้วยผลงานวิจัยจากหลายสถาบันชี้ตรงกันว่า Voice Search มีอัตราการเติบโตจากกลุ่มผู้ใช้เพื่อค้นหาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2559 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลจาก Google ระบุว่าภายในปี 2020 มีผู้ใช้วอยซ์ เสิร์ช เพิ่มขึ้นสูงถึง 50 % จึงอาจเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำ SEO รูปแบบใหม่ในอนาคตก็เป็นได้

หากเราพิจารณาถึงข้อได้เปรียบ วอยซ์ เสิร์ช ในกรณีที่เป็นภาษาอังกฤษ คนเราจะพูดได้ 150 คำต่อนาที ในขณะที่ข้อจำกัดของการพิมพ์ค้นหาคำต่าง ๆ ใช้การพิมพ์คำ 40 คำต่อนาที อีกทั้งการค้นหาด้วยเสียงยังมีความสะดวกมากกว่าขณะที่ทำกิจกรรมอื่น ๆ อยู่ เช่น เดิน วิ่ง ขับรถ ทำอาหาร เป็นต้น

ถึงแม้ว่า Voice Search จะมีความทันสมัยและตอบโจทย์ความสะดวกสบายในการชีวิตแบบ New Normal ทำให้ผู้คนเข้าถึงสินค้า บริการ ตลอดจนแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่ทว่าผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ได้ตรงตามความคาดหมาย 100% สิ่งที่จะตามมาคือปัญหาเรื่องของอารมณ์ความอดทนต่อการค้นหา ผู้คนอาจจะมีความอดทนต่อการรอคอยและสิ่งต่าง ๆ รอบตัวลดน้อยลง เพราะเคยชินกับการที่ได้รับข้อมูลในทันทีจากการสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น หากสินค้าที่ค้นหาปรากฏขึ้นมาในหน้าแรก ๆ แต่ไม่ใช่แบรนด์ที่ต้องการซื้อ เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อ Voice Search เริ่มมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้น เจ้าของแบรนด์หรือเว็บไซต์จะหวังพึ่งพา SEO เพียงอย่างเดียวไม่ได้ เพราะอาจจะมีการจัดลำดับใหม่และถูกคู่แข่งนำไปได้ จึงต้องเร่งพัฒนารูปแบบเว็บไซต์ เพื่อให้รองรับฟังก์ชัน Voice Search และรูปแบบการค้นหาด้วยเสียงในแอปพลิเคชันอื่น ๆ

นอกจากนี้ก็ควรเพิ่มช่องทางการโปรโมทสินค้าและเว็บไซต์ในโซเชียลมีเดียช่องทางอื่นเพิ่มมากขึ้น ด้วย โดยเน้นการให้ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าด้วยเนื้อหาที่เข้าใจง่าย และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า มีบริการหลังการขายที่ดี เชื่อมโยงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเอาไว้ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกลุ่มลูกค้าเก่าและขยายฐานลูกค้าใหม่